วันเสาร์ที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒

ความคิดเห็นการจัดทำแผนแม่บทด้านไอซีที

2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการจัดทำแผนแม่บทด้านไอซีที (ICT) ฉบับที่ 2 ของรัฐบาลไทย จงสังเคราะห์ความรู้จากแผนแม่บทมาเป็นอรรถาธิบายให้แจ้งชัด
ตอบ เห็นด้วยกับแผนแม่บทด้าน ICT ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2552 – 2556) ของรัฐบาลไทย เพราะจากการวิเคราะห์แผนแม่บทฉบับนี้จะพบว่ามีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาประเทศไทยให้เป็นสังคมอุดมปัญญา ด้วยการใช้ ICT โดยการพัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพและปริมาณที่เพียงพอ ทั้งบุคลากรด้าน ICT และบุคลากรในสาขาอาชีพอื่นๆการพัฒนาโครงข่ายสารสนเทศและการสื่อสารความเร็วสูงการพัฒนาระบบบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีธรรมาภิบาลโดยมีกลไก กฎระเบียบ โครงการการบริหารและการกำกับดูแล ที่เอื้อต่อการพัฒนาอย่างบูรณาการ การยกระดับความพร้อมด้าน ICT ของประเทศให้สูงขึ้นในระดับโลกการผลักดันอุตสาหกรรม ICT ให้มีสัดส่วนมูลค่าเพิ่ม ต่อ GDP ไม่น้อยกว่า 20 % และการส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนอย่างน้อย 50 % สามารถเข้าถึงและใช้ ICT ได้ โดยโครงการที่สำคัญได้แก่ การจัดตั้งวิทยาลัย ICT การพัฒนากฎหมายด้าน ICT พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ โดยมีรายละเอียด พอจะสรุป ได้ดังนี้
1. การจัดตั้งวิทยาลัย ICT วัตถุประสงค์เพื่อให้การพัฒนาบุคลากรด้าน ICT ในระดับภาพรวมของประเทศมีทิศทางที่แน่ชัด มีการบูรณาการร่วมกันหลายหน่วยงาน และให้บุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีจำนวนมากขึ้น ให้เพียงพอในการเข้าสู่ธุรกิจด้าน IT ดังนั้น จึงเห็นสมควรจัดทำโครงการพัฒนาบุคลากรด้าน ICT ของประเทศขึ้น เพื่อเป็นการศึกษารูปแบบแนวทางการพัฒนาบุคลากรด้าน ICT ในระดับประเทศ
2. การพัฒนากฎหมายด้าน ICT กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ได้ศึกษาและจัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกฎหมาย เพื่อใช้ในการกำกับควบคุมการเผยแพร่สิ่งที่ไม่เหมาะสม เป็นภัยบนอินเทอร์เน็ตมีเนื้อหาที่ครอบคลุมเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยของสังคม โดยไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีงาม และเพื่อศึกษาวิเคราะห์เทียบเคียงกฎหมายของประเทศที่พัฒนาแล้ว มีแนวทางการกำหนดมาตรการทางกฎหมาย ในการป้องกันปัญหาการเผยแพร่สิ่งที่ไม่เหมาะสม อันเป็นภัยที่เกิดจากการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อผลักดันให้มีการยกร่างกฎหมายที่มีเนื้อหาใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป ซึ่งปัจจุบันกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ
3. พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นตามบทบัญญัติในมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 โดยได้แยกการกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และการกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคมออกจากกัน คือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ยังคงบัญญัติหลักการเกี่ยวกับการจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ไว้ในมาตรา 47 แต่ได้บัญญัติให้เป็นองค์กรอิสระองค์กรหนึ่ง ทำให้ต้องมีการปรับปรุงกฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้ กรอบยุทธศาสตร์และผลลัพธ์ในแผนแม่บทด้านICTฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2552 – 2554) ของรัฐบาลไทยก็มีสิ่งต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ดังนี้
1. พัฒนากำลังคน (ICT Professionals & ICT literate people)
2. บริหารจัดการ ICT อย่างมีธรรมาภิบาล
3. ใช้ ICT เพื่อช่วยสร้างธรรมาภิบาลของรัฐ
4. พัฒนาอุตสาหกรรมของ ICT
5. ใช้ ICT ในภาคการผลิตและบริการที่เป็นยุทธศาสตร์ของประเทศ
นอกจากนี้ยังส่งเสริมการเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นนำเอาระบบนั้นไปพัฒนาได้ต่อไป (Open Source) รวมถึงการมีกลไกสนับสนุนให้บุคลากรนักพัฒนาของไทย สามารถเข้าร่วมโครงการระดับโลกได้ เพื่อสร้างให้เกิดการวิจัยพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยี และทำให้เกิดความเข้มแข็งของบุคลากร ICT ไทย ทั้งนี้เพื่อลดการละเมิดลิขสิทธิ์ ลดภาระงบประมาณรายจ่ายในการซื้อซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ เพิ่มทางเลือกของการใช้ซอฟต์แวร์ พัฒนาฝีมือ ทักษะของโปรแกรมเมอร์และผู้ใช้งาน และให้มีอิสระในการกำหนดทิศทางการพัฒนาต่อยอดซอฟต์แวร์ใหม่

ไม่มีความคิดเห็น: