การขนส่งสัตว์ไปยังโรงฆ่า การขนส่งสัตว์ไปสู่โรงฆ่าสัตว์นับเป็นขั้นตอนที่สำคัญต่อคุณภาพเนื้อเป็นอย่างมากเพราะอาจทำให้สัตว์บาดเจ็บ มีรอยช้ำ จุดเลือด หรือสัตว์ตายได้ ปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ ได้แก่ พาหนะที่ใช้บรรทุก ระยะทางในการขนส่ง สภาพภูมิอากาศ ความแออัด อุปกรณ์ที่ใช้ในการขนย้าย เป็นต้น การดำเนินการในขั้นตอนการขนส่งสัตว์ จะต้องกระทำ ด้วยความระมัดระวังให้ได้ตามมาตรฐานสากลและควรมีความปราณีต่อสัตว์ การขนส่งสัตว์มีชีวิตและซากสัตว์ ควรปฏิบัติดังนี้ 1. รถที่ใช้ขนส่งซากสัตว์และเนื้อสัตว์ ต้องสะอาดสามารถป้องกันการปนเปื้อนซากสัตว์และเนื้อสัตว์ในขณะขนส่งได้ และไม่ควรขนส่งซากสัตว์ และเนื้อสัตว์ปะปนกับสินค้าชนิดอื่น
2. ซากสัตว์และเนื้อสัตว์จะต้องบรรจุในภาชนะสะอาดปิดมิดชิด ในกรณีที่รถขนส่ง ไม่สามารถป้องกันการปนเปื้อนขณะขนส่งได้
3. รถขนส่งซากต้องผ่านการล้างทำความสะอาด และฆ่าเชื้อโรคก่อนที่จะบรรทุกซากและเนื้อสัตว์
4. การขนส่งซากสัตว์และเนื้อสัตว์ที่ใช้เวลาเกินกว่า 2 ชั่วโมง ควรมีการควบคุมอุณหภูมิตามจำเป็น
5. มีการปรับปรุงรถขนส่งสัตว์มีชีวิต เพื่อลดอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับสัตว์ และลดความเครียดระหว่างการขนส่ง
6. ในการนำสัตว์มีชีวิตขึ้นลงรถขนส่ง ควรมีทางลาดให้สัตว์เดิน หรือมีอุปกรณ์ช่วยยกภาชนะบรรจุสัตว์ขึ้นลง
7. มีรถบรรทุกขนส่งซากสัตว์และเนื้อสัตว์ที่ปิดมิดชิด สะอาด และสามารถควบคุมอุณหภูมิซากสัตว์ และเนื้อสัตว์ได้ตลอดระยะเวลาการขนส่ง โดยอุณหภูมิซากสัตว์และเนื้อสัตว์ต้องไม่สูงเกิน 7 องศาเซลเซียส
8. รถขนส่งจะต้องเปิดเครื่องทำความเย็นให้ได้อุณหภูมิตามที่กำหนดก่อนขนส่งซากสัตว์และเนื้อสัตว์ขึ้นรถ
9. มีการตรวจสอบความสะอาด และอุณหภูมิรถขนส่งก่อนนำซากสัตว์และเนื้อสัตว์ขึ้นรถ
การขนส่งสัตว์ปีกมีชีวิต (transportation for poultry)
1. พาหนะขนส่งสัตว์ปีก
1.1 ต้องแข็งแรง และเหมาะสมกับชนิดของสัตว์ปีกและจำนวนของกรงบรรจุสัตว์ปีก
1.2 มีช่องระบายอากาศอย่างพอเพียง ไม่ปิดทึบ พื้นไม่ลื่น ไม่มีการระบายของเสียและน้ำระหว่าง
การขนส่ง มีวัสดุหรือหลังคาสำหรับป้องกันแดดและฝน
1.3 ในการขนส่ง สัตว์ปีกที่บรรจุในแต่ละกรงบรรจุมีจำนวนเหมาะสมกับขนาดของกรง
1.4 กรงบรรจุควรมีความสูงและพื้นที่เพียงพอที่สัตว์ปีกยืนและนั่งได้
2. วิธีการขนส่ง
2.1 การขนส่งต้องปฏิบัติตามระเบียบกรมปศุสัตว์
2.2 ขณะขนส่งต้องหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดการบาดเจ็บกับสัตว์ปีก เช่น ขับเคลื่อน
รถบรรทุกสัตว์ปีกอย่างระมัดระวัง ไม่ออกรถโดยเร็วหรือหยุดโดยกะทันหัน
2.3 ไม่ขนส่งสัตว์ที่เจ็บป่วยร่วมไปกับสัตว์ปกติ
2.4 ระยะเวลาในการขนส่งควรสั้นที่สุด เพื่อให้สัตว์เกิดความเครียดน้อยที่สุด
2.5 งดให้อาหารกับสัตว์ปีก อย่างน้อย 1 ชั่วโมง ก่อนการขนส่ง
2.6 ตรวจดูสัตว์ปีกขณะขนส่งเป็นระยะๆ
2.7 ควรขนส่งสัตว์ปีกมาถึงโรงฆ่าก่อนเวลาฆ่าอย่างน้อย 30 นาที เพื่อให้สัตว์ปีกได้พักก่อนฆ่า
การรับสัตว์ปีกมีชีวิต (reception of poultry)
1. เมื่อสัตว์ปีกถึงโรงฆ่า ให้มีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารที่เกี่ยวข้องตาม
กฎหมาย
2. บริเวณที่พักยานพาหนะที่มีสัตว์ปีกบรรทุกอยู่ ควรมีหลังคาที่สามารถป้องกันแสงแดดและฝน
ได้ มีระบบระบายอากาศที่ดี อุณหภูมิเหมาะสม และรอฆ่าตามลำดับที่กำหนด
3. การเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกต้องทำด้วยความระมัดระวัง
4. ชั่งน้ำหนัก และตรวจนับจำนวนสัตว์ปีก มกอช. 9008-25487
5. ตรวจสุขภาพสัตว์ปีกก่อนฆ่า โดยการตรวจสุขภาพและความผิดปกติ เช่น การหายใจ การ
เคลื่อนไหว และบันทึกผลในรายงานการตรวจสัตว์ปีกก่อนฆ่า ณ หน้าโรงฆ่า โดยพนักงานตรวจโรคสัตว์
6. ในกรณีที่พบสัตว์ปีกที่ป่วยหรือสงสัยว่าป่วยให้แยกกักไว้ในโรงพักสัตว์ปีกป่วย และฆ่าภายหลัง
เสร็จสิ้นกระบวนการฆ่าสัตว์ปีกปกติแล้ว หากพบโรคติดต่อให้นำไปเผาในเตาเผา (incinerator) หรือต้มเพื่อทำลาย และแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
7. กรณีพบสัตว์ปีกที่ได้รับบาดเจ็บรุนแรง เพื่อไม่ให้สัตว์ปีกได้รับความทรมานจะต้องฆ่าสัตว์ปีก
นั้นอย่างไม่ทรมานทันที
8. ภายหลังนำสัตว์ปีกลงจากพาหนะหมดแล้ว ให้ทำความสะอาดและใช้ยาฆ่าเชื้อกรงบรรจุและ
พาหนะที่ใช้บรรทุกสัตว์ปีกทุกครั้งหลังการขนส่ง
9. หลังฆ่าสัตว์ปีกหมดแล้ว ให้ล้างทำความสะอาดบริเวณโรงพักสัตว์ปีก ได้แก่ ที่พักสัตว์ปีก ที่จับ
สัตว์ปีกขึ้นราว และรางระบายน้ำ
การขนส่งซากสัตว์ปีก เนื้อสัตว์และผลผลิต (transportation for poultry carcass,meat and products)
1. พาหนะที่ใช้ขนส่งต้องสามารถควบคุมอุณหภูมิศูนย์กลางเนื้อ ให้ไม่เกิน 7oC ตลอดเวลา
มกอช. 9008-254811
2. การเคลื่อนย้ายซากสัตว์ปีก เนื้อสัตว์ปีกและผลผลิตเพื่อการขนส่ง ต้องทำด้วยความระมัดระวัง
เพื่อป้องกันภาชนะบรรจุแตกหักเสียหาย
3. ประตูรถบรรทุกหรือตู้เก็บ (container) ต้องปิดสนิท ถ้าจำเป็นต้องใส่กุญแจ หรือมัดแน่นด้วย
ลวด หรือวัสดุอื่นที่มีเครื่องหมายแสดงว่าไม่มีการเปิดในขณะขนส่ง
4. ห้ามขนส่งด้วยยานพาหนะคันเดียวกับที่ขนส่งสัตว์ปีกมีชีวิต
5. พาหนะขนส่งหรือตู้เก็บจะต้องล้างหรือทำความสะอาดให้เรียบร้อยก่อนและหลังการขนส่ง
ข้อควรคำนึงในการขนส่ง
เมื่อสัตว์ถูกขนส่งออกจากฟาร์มสัตว์ปีกมักจะถูกขนส่งและบรรจุในกรงซึ่งกรงที่ไม่ได้รับการทำความสะอาดจะเป็นแหล่งปนเปื้อนที่สำคัญโดยสัตว์ปีกจะมีการกระพือปีกและมีมูลสัตว์ที่ตกค้างดังนั้นกรงและรถบรรทุกจึงเป็นแหล่งสะสมของจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคหลายชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Salmonella campylobacter (Berang และคณะ, 2000; Ramesh และคณะ, 2003) กรงที่ใช้ในการขนส่งสัตว์ปีกเป็นจุดที่ทำให้เกิดการปนเปื้อนต่อสัตว์ปีกที่สำคัญ เนื่องจากไม่ได้มีการทำความสะอาดและใช้ซ้ำ จึงเป็นแหล่งสะสมของจุลินทรีย์ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค (Slader และคณะ,2002) ดังนั้นจึงควรมีการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ โดยอาจใช้น้ำผสมสารทำความสะอาด (cleaning agent ) ชำระล้างสิ่งสกปรก เช่น ขนไก่ หรือ ฝุ่นผงออกก่อนแล้วจึงแช่ใน สารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรด์เข้มข้น 1000 พีพีเอ็ม ที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 นาทีเพื่อทำลายจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อน (Ramesh และคณะ,2003)
สำหรับสัตว์ใหญ่ เช่น วัวและสุกรก็มีการขนส่งในลักษณะเดียวกัน โดยจุลินทรีย์อาจมาจากขน หนัง กีบเท้า (Reid และคณะ, 2002) และมูลสัตว์จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคส่วนใหญ่คือ Escherichia coli O 157 :H7, Salmonella, Campylobacter, Yersinia และ Listeria monocytogene (Beach และคณะ, 2002; Chang และคณะ, 2003; Lo Fo Wong และคณะ, 2002; Castillo และคณะ,2003) บริเวณตรวจรับสัตว์หรือตรวจรับวัตถุดิบ คือ เนื้อสัตว์สด ในกรณีที่ไม่ได้ทำการฆ่าสัตว์นั้นในโรงงานเองเป็นบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสูง จากงานวิจัยของ Ellebroek (1997) พบว่าจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนมากับอากาศ Enterobacteriaceae จะตรวจพบมากบริเวณรับสัตว์ปีกก่อนนำเข้าสู่โรงฆ่าและในส่วนของบริเวณชำแหละรวมทั้งการปนเปื้อนจากซากหนึ่งไปยังอีกซากหนึ่ง จากการใช้เครื่องมือร่วมกันหรือมือของพนักงานที่ไม่สะอาด (Legg และคณะ,1999; Lo Fo Wongและคณะ,2002) เช่น การลวกซากสัตว์ปีกก่อนการถอนขนอาจช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ที่ผิวได้แต่มีการพบว่า หลังเสร็จสิ้นการถอนขนโดยใช้เครื่อง จำนวนของ Campylobacter, coliforms และ E. coli เพิ่มขึ้น(Berrang และคณะ,2000) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอาจเกิดการปนเปื้อนข้ามมาจากเครื่องมือที่ใช้
วันอังคารที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
ขอไว้อาลัยแด่ คุณครูมณฑิตย์สา มั่นฤกษ์
ขอแสดงความเสียใจ กับการจากไปของคุณครูมณฑิตย์สา มั่นฤกษ์ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2552 พวกเราจะจดจำและระลึกอยู่เสมอว่าครั้งหนึ่ง เคยนั่งเรียนอยู่ร่วมชั้นเดียวกัน เป็นเวลาร่วมปี จนกระทั่งจบการศึกษา และคุณงามความดีที่คุณครูมณฑิตย์สา มั่นฤกษ์ ได้กระทำมาทั้งหมดเมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ พวกเราขอให้ดวงวิญญาณของคุณครูมณฑิตย์สา มั่นฤกษ์ จงไปสู่สุขคติด้วยเถิด
ป.บัณฑิต การบริหารการศึกษา รุ่น 8 และ ป.โท การบริหารการศึกษา รุ่น 13
วันเสาร์ที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒
ความคิดเห็นการใช้กฏหมายแก้ปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และเครื่อข่ายอินเตอร์เน็ต
3. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย (กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550) เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด จงอภิปรายถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องให้เห็นเป็นรูปธรรม
ตอบ เห็นด้วยกับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย (กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550) เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด เพราะเราจะพบว่า ในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้เข้ามามีบทบาทมาก และทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นตามลำดับต่อระบบเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศไทย แต่ในขณะเดียวกันการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ก็มีแนวโน้มขยายวงกว้างและทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นด้วย โดยขอสรุปประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบับนี้ในด้าน ๆ ดังนี้
1. ความผิดสำหรับแฮคเกอร์ พอจะสรุปเป็นประเด็นสำคัญได้ดังนี้
1.1 เข้าเว็บสาธารณะย่อมไม่มีความผิด แต่ผู้ที่เจาะระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่สร้างระบบป้องกันไว้ มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท แต่ถ้าเจาะเข้าไปถึงข้อมูลที่เก็บรักษาไว้ด้วย โทษจะเพิ่มเป็น 2 เท่า
1.2 ผู้ที่เผยรหัส (password) ที่ตัวเองรู้มา สำหรับเพื่อใช้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ มีโทษจำคุก 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท 1.3 ผู้ที่ดักจับข้อมูลที่เป็นส่วนตัว ซึ่งส่งถึงกันทางอินเตอร์เน็ต ทาง e-mail มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท
2. ความผิดสำหรับผู้ปล่อยไวรัส พอจะสรุปเป็นประเด็นสำคัญ ได้ดังนี้
2.1 ผู้ที่ทำลายข้อมูลหรือไปเปลี่ยนข้อมูลของผู้อื่นไม่ว่าด้วยวิธีการใด จะใช้ไวรัส หรือแอบเข้าไปทำลาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
2.2 การทำลายข้อมูลผู้อื่น ทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ประเภทคอมพิวเตอร์ควบคุมจราจร มีโทษสูงขึ้นเป็น จำคุก 10 ปี ปรับ 200,000 บาท ถ้ากระทบถึงความมั่นคงประเทศ จะมีโทษสูงขึ้นเป็นจำคุก 3 – 15 ปี ถ้ากระทำจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โทษจะหนักถึงจำคุก 10 – 20 ปี
3. ความผิดของผู้ที่ก่อกวนหรือแกล้งผู้อื่น พอจะสรุปเป็นประเด็นสำคัญ ได้ดังนี้
3.1 ผู้ที่ส่งเมล์ก่อกวนหรือโฆษณาขายสินค้าหรือขายบริการ ประเภทไปโผล่ pop up หรือผู้ที่ส่งเมล์ขยะโดยที่ผู้รับไม่ต้องการ มีโทษปรับอย่างเดียว ไม่เกิน 100,000 บาท โทษฐานก่อความรำคาญ
3.2 ผู้ที่ส่งเมล์เป็นข้อมูลปลอม ข้อมูลเท็จ ใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่น เป็นข่าวลือ ปล่อยข่าวให้เกิดความวุ่นวาย รวมถึงส่งภาพลามกอนาจารทั้งหลาย รวมถึงผู้ที่ได้รับแล้วส่งต่อด้วย มีโทษเท่ากันคือ จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
3.3 ผู้ที่ตัดต่อภาพของผู้อื่น แล้วนำเข้าเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต ทำให้เจ้าของภาพเสียหาย อับอาย ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 600,000 บาท
4. ความผิดของผู้ให้บริการ พอจะสรุปเป็นประเด็นสำคัญ ได้ดังนี้
ผู้ให้บริการมีหน้าที่ต้องเก็บรวมรวมข้อมูลของผู้ใช้บริการอย่างน้อย 90 วัน เพื่อให้สามารถหาตัวใช้บริการ สำหรับให้ตรวจสอบได้ มิฉะนั้นผู้ให้บริการจะต้องรับโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท การกระทำความผิดตามกฎหมายนี้ แม้จะกระทำในหรือนอกราชอาณาจักร ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือคนต่างด้าว ถ้าเกิดความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นภายในประเทศหรือต่างประเทศก็ต้องยอมรับโทษตามกฎหมายนี้ด้วย แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือ การกระทำความผิดในระบบคอมพิวเตอร์ทางอินเตอร์เน็ตนี้จะมีวิธีการจับได้อย่างไร ในทางปฏิบัติกฎหมายให้อำนาจเรียกข้อมูลจากผู้ให้บริการหรือเจ้าของเว็บทั้งหลาย รวมทั้งมีอำนาจที่จะเข้าไปติดตาม ตรวจสอบ คัดลอก ในระบบคอมพิวเตอร์ของใครก็ได้ ถ้ามีเหตุอันควรเชื่อถือได้ว่ามีการกระทำความผิด แต่การใช้อำนาจเจาะเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นตามกฎหมายฉบับนี้นั้น จะต้องขออนุญาตต่อศาลก่อน จะกระทำโดยพละการไม่ได้ หากเจ้าหน้าที่เปิดเผยข้อมูลที่ใช้อำนาจหน้าที่ไปเจาะข้อมูลมาโดยไม่มีอำนาจ เจ้าหน้าที่มีความผิดด้วย โดยต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท และถึงแม้ไม่ได้ตั้งใจจะเปิดเผย แต่กระทำไปด้วยความประมาททำให้ข้อมูลหลุดเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต ก็จะต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เป็นกฎหมายที่ดีมีประโยชน์ เพราะทำให้ประเทศไทยได้ชื่อเสียงว่ามีกฎหมายด้านการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกับอารยประเทศทั้งหลาย เป็นการช่วยป้องปรามไม่ให้เกิดการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ลดน้อยลง และช่วยให้สามารถดำเนินการตามกฎหมายได้รวดเร็วขึ้น เป็นต้น เช่นเดียวกับกฎหมายฉบับอื่นๆ ก็ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเป็นระยะๆ อาทิเช่น ควรมีข้อยกเว้นสำหรับสถานศึกษา ควรมีข้อยกเว้นให้ส่งเบาะแสการกระทำความผิดให้เจ้าหน้าที่ผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ ควรออกกฎหมายใหม่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ให้ครบถ้วนยิ่งขึ้น และควรปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่แล้วให้ครอบคลุมมากขึ้น เพื่อประโยชน์ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ตอบ เห็นด้วยกับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย (กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550) เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด เพราะเราจะพบว่า ในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้เข้ามามีบทบาทมาก และทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นตามลำดับต่อระบบเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศไทย แต่ในขณะเดียวกันการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ก็มีแนวโน้มขยายวงกว้างและทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นด้วย โดยขอสรุปประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบับนี้ในด้าน ๆ ดังนี้
1. ความผิดสำหรับแฮคเกอร์ พอจะสรุปเป็นประเด็นสำคัญได้ดังนี้
1.1 เข้าเว็บสาธารณะย่อมไม่มีความผิด แต่ผู้ที่เจาะระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่สร้างระบบป้องกันไว้ มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท แต่ถ้าเจาะเข้าไปถึงข้อมูลที่เก็บรักษาไว้ด้วย โทษจะเพิ่มเป็น 2 เท่า
1.2 ผู้ที่เผยรหัส (password) ที่ตัวเองรู้มา สำหรับเพื่อใช้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ มีโทษจำคุก 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท 1.3 ผู้ที่ดักจับข้อมูลที่เป็นส่วนตัว ซึ่งส่งถึงกันทางอินเตอร์เน็ต ทาง e-mail มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท
2. ความผิดสำหรับผู้ปล่อยไวรัส พอจะสรุปเป็นประเด็นสำคัญ ได้ดังนี้
2.1 ผู้ที่ทำลายข้อมูลหรือไปเปลี่ยนข้อมูลของผู้อื่นไม่ว่าด้วยวิธีการใด จะใช้ไวรัส หรือแอบเข้าไปทำลาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
2.2 การทำลายข้อมูลผู้อื่น ทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ประเภทคอมพิวเตอร์ควบคุมจราจร มีโทษสูงขึ้นเป็น จำคุก 10 ปี ปรับ 200,000 บาท ถ้ากระทบถึงความมั่นคงประเทศ จะมีโทษสูงขึ้นเป็นจำคุก 3 – 15 ปี ถ้ากระทำจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โทษจะหนักถึงจำคุก 10 – 20 ปี
3. ความผิดของผู้ที่ก่อกวนหรือแกล้งผู้อื่น พอจะสรุปเป็นประเด็นสำคัญ ได้ดังนี้
3.1 ผู้ที่ส่งเมล์ก่อกวนหรือโฆษณาขายสินค้าหรือขายบริการ ประเภทไปโผล่ pop up หรือผู้ที่ส่งเมล์ขยะโดยที่ผู้รับไม่ต้องการ มีโทษปรับอย่างเดียว ไม่เกิน 100,000 บาท โทษฐานก่อความรำคาญ
3.2 ผู้ที่ส่งเมล์เป็นข้อมูลปลอม ข้อมูลเท็จ ใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่น เป็นข่าวลือ ปล่อยข่าวให้เกิดความวุ่นวาย รวมถึงส่งภาพลามกอนาจารทั้งหลาย รวมถึงผู้ที่ได้รับแล้วส่งต่อด้วย มีโทษเท่ากันคือ จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
3.3 ผู้ที่ตัดต่อภาพของผู้อื่น แล้วนำเข้าเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต ทำให้เจ้าของภาพเสียหาย อับอาย ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 600,000 บาท
4. ความผิดของผู้ให้บริการ พอจะสรุปเป็นประเด็นสำคัญ ได้ดังนี้
ผู้ให้บริการมีหน้าที่ต้องเก็บรวมรวมข้อมูลของผู้ใช้บริการอย่างน้อย 90 วัน เพื่อให้สามารถหาตัวใช้บริการ สำหรับให้ตรวจสอบได้ มิฉะนั้นผู้ให้บริการจะต้องรับโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท การกระทำความผิดตามกฎหมายนี้ แม้จะกระทำในหรือนอกราชอาณาจักร ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือคนต่างด้าว ถ้าเกิดความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นภายในประเทศหรือต่างประเทศก็ต้องยอมรับโทษตามกฎหมายนี้ด้วย แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือ การกระทำความผิดในระบบคอมพิวเตอร์ทางอินเตอร์เน็ตนี้จะมีวิธีการจับได้อย่างไร ในทางปฏิบัติกฎหมายให้อำนาจเรียกข้อมูลจากผู้ให้บริการหรือเจ้าของเว็บทั้งหลาย รวมทั้งมีอำนาจที่จะเข้าไปติดตาม ตรวจสอบ คัดลอก ในระบบคอมพิวเตอร์ของใครก็ได้ ถ้ามีเหตุอันควรเชื่อถือได้ว่ามีการกระทำความผิด แต่การใช้อำนาจเจาะเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นตามกฎหมายฉบับนี้นั้น จะต้องขออนุญาตต่อศาลก่อน จะกระทำโดยพละการไม่ได้ หากเจ้าหน้าที่เปิดเผยข้อมูลที่ใช้อำนาจหน้าที่ไปเจาะข้อมูลมาโดยไม่มีอำนาจ เจ้าหน้าที่มีความผิดด้วย โดยต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท และถึงแม้ไม่ได้ตั้งใจจะเปิดเผย แต่กระทำไปด้วยความประมาททำให้ข้อมูลหลุดเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต ก็จะต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เป็นกฎหมายที่ดีมีประโยชน์ เพราะทำให้ประเทศไทยได้ชื่อเสียงว่ามีกฎหมายด้านการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกับอารยประเทศทั้งหลาย เป็นการช่วยป้องปรามไม่ให้เกิดการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ลดน้อยลง และช่วยให้สามารถดำเนินการตามกฎหมายได้รวดเร็วขึ้น เป็นต้น เช่นเดียวกับกฎหมายฉบับอื่นๆ ก็ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเป็นระยะๆ อาทิเช่น ควรมีข้อยกเว้นสำหรับสถานศึกษา ควรมีข้อยกเว้นให้ส่งเบาะแสการกระทำความผิดให้เจ้าหน้าที่ผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ ควรออกกฎหมายใหม่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ให้ครบถ้วนยิ่งขึ้น และควรปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่แล้วให้ครอบคลุมมากขึ้น เพื่อประโยชน์ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)