โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax)
เป็นโรคสัตว์ติดคนที่ร้ายแรงโรคหนึ่ง จึงนิยมเรียกโรคนี้ว่า โรคกาลี โค กระบือ และแกะ ที่ป่วยเป็นโรคแบบเฉียบพลันมีลักษณะสำคัญคือ สัตว์ป่วยจะตายอย่างรวดเร็ว มีเลือดสีดำคล้ำไหลออกตามทวารต่างๆ ซากไม่แข็งตัว
ม้ามสีดำคล้ำ และขยายใหญ่
เชื้อแบคทีเรีย Bacillus anthracis ดูจากกล้องจุลทรรศน์
สาเหตุและการแพร่โรคโรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ แบซิลลัส แอนทราซิส (Bacillus anthracis) พบมากในช่วงการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล สัตว์ที่เป็นโรคนี้ส่วนมากเกิดจากการหายใจเอาสปอร์ของเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนอยู่ในดินหรือหญ้าเข้าสู่ร่างกาย หรืออาจเกิดจากการกินน้ำและอาหารที่มีเชื้อปะปนอยู่เข้าไป แต่สัตว์จะเป็นโรคนี้โดยเชื้อเข้าทางบาดแผลได้เช่นกัน เมื่อเชื้อเข้าตัวสัตว์แล้วจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นกระจายอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย พร้อมกับสร้างสารพิษขึ้นมาทำให้สัตว์ป่วยและตายในที่สุด ในระหว่างสัตว์ป่วยเชื้อจะถูกขับออกมากับอุจจาระ น้ำปัสสาวะหรือน้ำนม เมื่อทำการเปิดผ่าซาก เชื้อนี้เมื่อสัมผัสกับอากาศก็จะสร้างสปอร์หรืออาจเรียกได้ว่าเกราะหุ้มตัวในเวลาเวลา 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้ตัวมันเองคงทนอยู่ในสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ กล่าวกันว่าสามารถอยู่ในดินได้นานกว่า 10 ปี ขึ้นไป มีโอกาสที่จะเกิดโรคในที่แห่งเดิมได้อีกถ้าสภาวะแวดล้อมเหมาะสมในการเจริญเติบโตของเชื้อ และเชื้อคงทนในน้ำเดือนได้นานถึง 30 นาทีอาการสัตว์เป็นโรคนี้แบบเฉียบพลันจะตายอย่างรวดเร็วภายในเวลา 1-2 ชั่วโมง แต่ถ้าเป็นแบบรุนแรงจะตายภายใน 1-2 วัน สัตว์จะมีอาการซึม หายใจเร็ว ลึก หัวใจเต้นเร็ว ไข้สูงประมาณ 107 องศาฟาเรนไฮท์ เยื่อชุ่มต่างๆ มีเลือดคั่งหรือมีจุดเลือดออก กล้ามเนื้อสั่นบวมน้ำตามลำตัว น้ำนมลดอย่างรวดเร็วและอาจมีเลือดปนหรือมีสีเหลืองเข้ม ท้องอืดและตายในที่สุด เมื่อสัตว์ตายจะมีเลือดสีดำคล้ำไหลออกตามทวารต่างๆ เช่น จมูก ปาก ทวารหนักหรือแม้แต่ขุมขน ซากสัตว์จะขึ้นอืดเร็ว ไม่แข็งตัว ถ้าทำการเปิดผ่าซากจะพบเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ พบของเหลวสีน้ำเลือดภายในช่องอกและช่องท้อง ลำไส้อักเสบรุนแรงมีเลือดออก เลือดไม่แข็งตัวและม้ามขยายใหญ่เห็นได้ชัดเจน ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของโรคนี้ ในคนที่ทำการผ่าซากหรือบริโภคเนื้อสัตว์ป่วยด้วยโรคนี้แบบสุกๆ ดิบๆ จะพบแผลหลุมตามนิ้วมือ แขน หรือช่องปาก และมีอาการเจ็บปวดในช่องท้อง โรคนี้จะทำให้คนตายเสมอๆการตรวจวินิจฉัย1. ขณะสัตว์มีชีวิต ถ้าสงสัยว่าสัตว์ป่วยด้วยโรคแอนแทรกซ์ ให้เจาะเลือดก่อนทำการรักษาส่วนหนึ่งป้ายกระจก (silde) จำนวน 4 แผ่น และอีกส่วนหนึ่งเก็บใส่หลอดแก้วเลือดป้าย กระจก จำนวน 2 แผ่น ย้อมด้วยสี แกรม สเตน (Gram stain) แล้วตรวจหาเชื้อด้วยกล้องจุลทรรศน์ ถ้าพบเชื้อมีลักษณะเป็นแท่งขนาดใหญ่ ปลายตัดอยู่ต่อกันเหมือนตู้รถไฟและมีแคปซูลหุ้ม แสดงว่าเป็นเชื้อ B. anthracis เพื่อการตรวจยืนยันให้ส่ง กระจก (slide) ที่เหลือและเลือดในหลอดแก้วไปยังศูนย์วิจัยและชันสูตรโรคสัตว์ทำการวินิจฉัยอีกครั้ง2. เมื่อสัตว์ตาย ถ้าสงสัยว่าสัตว์ตายด้วยโรคแอนแทรกซ์ ควรทำการเจาะเลือดจากเส้นเลือดบริเวณโคนหาง คอ หรือหัวใจ นำเลือดที่ได้ป้าย กระจก (slide) ไว้ 4 แผ่น และเก็บในหลอดแก้วส่วนหนึ่ง ย้อมเลือดป้าย กระจก (slide) ตรวจหาเชื้อ B. anthracis ดังในข้อ 1 ถ้าตรวจพบเชื้อ B. anthracis ก็ให้ทำลายซากและส่งเลือดในหลอดแก้วและกระจก (slide) ที่เหลือตรวจยืนยันที่ห้องปฏิบัติการ แต่ถ้าตรวจไม่พบเชื้อให้ทำการเปิดผ่าซากตรวจดูวิการ แล้วเก็บอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ ปอด ตับ ม้าม ต่อมน้ำเหลืองและอื่นๆ ที่เห็นสมควรส่งตรวจ3. ในกรณีซากสัตว์ถูกชำแหละ ควรเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อ กระดูก หนัง ขน หรือดินบริเวณผ่าซากที่พบรอยเลือด ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ปกติห้ามผ่าซากการรักษาทำการรักษาในขณะที่สัตว์เริ่มแสดงอาการเช่น เมื่อพบสัตว์มีไข้สูง โดยให้ยาปฏิชีวนะ เพนนิซิลิน ในขนาด 1000 ยูนิตต่อน้ำหลักสัตว์ 1 กิโลกรัม หรือให้ออกซีเตตทราไซคลิน ในขนาด 5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักสัตว์ 1 กิโลกรัม
* * * กรณีสงสัยว่าสัตว์ป่วยเป็นโรคแอนแทรกซ์ ห้ามผ่าซาก * * *
กระดูก เนื้อตากแห้ง หนังสัตว์ สามารถนำเชื้อโรคแพร่ระบาดได้
เป็นโรคสัตว์ติดคนที่ร้ายแรงโรคหนึ่ง จึงนิยมเรียกโรคนี้ว่า โรคกาลี โค กระบือ และแกะ ที่ป่วยเป็นโรคแบบเฉียบพลันมีลักษณะสำคัญคือ สัตว์ป่วยจะตายอย่างรวดเร็ว มีเลือดสีดำคล้ำไหลออกตามทวารต่างๆ ซากไม่แข็งตัว
ม้ามสีดำคล้ำ และขยายใหญ่
เชื้อแบคทีเรีย Bacillus anthracis ดูจากกล้องจุลทรรศน์
สาเหตุและการแพร่โรคโรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ แบซิลลัส แอนทราซิส (Bacillus anthracis) พบมากในช่วงการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล สัตว์ที่เป็นโรคนี้ส่วนมากเกิดจากการหายใจเอาสปอร์ของเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนอยู่ในดินหรือหญ้าเข้าสู่ร่างกาย หรืออาจเกิดจากการกินน้ำและอาหารที่มีเชื้อปะปนอยู่เข้าไป แต่สัตว์จะเป็นโรคนี้โดยเชื้อเข้าทางบาดแผลได้เช่นกัน เมื่อเชื้อเข้าตัวสัตว์แล้วจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นกระจายอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย พร้อมกับสร้างสารพิษขึ้นมาทำให้สัตว์ป่วยและตายในที่สุด ในระหว่างสัตว์ป่วยเชื้อจะถูกขับออกมากับอุจจาระ น้ำปัสสาวะหรือน้ำนม เมื่อทำการเปิดผ่าซาก เชื้อนี้เมื่อสัมผัสกับอากาศก็จะสร้างสปอร์หรืออาจเรียกได้ว่าเกราะหุ้มตัวในเวลาเวลา 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้ตัวมันเองคงทนอยู่ในสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ กล่าวกันว่าสามารถอยู่ในดินได้นานกว่า 10 ปี ขึ้นไป มีโอกาสที่จะเกิดโรคในที่แห่งเดิมได้อีกถ้าสภาวะแวดล้อมเหมาะสมในการเจริญเติบโตของเชื้อ และเชื้อคงทนในน้ำเดือนได้นานถึง 30 นาทีอาการสัตว์เป็นโรคนี้แบบเฉียบพลันจะตายอย่างรวดเร็วภายในเวลา 1-2 ชั่วโมง แต่ถ้าเป็นแบบรุนแรงจะตายภายใน 1-2 วัน สัตว์จะมีอาการซึม หายใจเร็ว ลึก หัวใจเต้นเร็ว ไข้สูงประมาณ 107 องศาฟาเรนไฮท์ เยื่อชุ่มต่างๆ มีเลือดคั่งหรือมีจุดเลือดออก กล้ามเนื้อสั่นบวมน้ำตามลำตัว น้ำนมลดอย่างรวดเร็วและอาจมีเลือดปนหรือมีสีเหลืองเข้ม ท้องอืดและตายในที่สุด เมื่อสัตว์ตายจะมีเลือดสีดำคล้ำไหลออกตามทวารต่างๆ เช่น จมูก ปาก ทวารหนักหรือแม้แต่ขุมขน ซากสัตว์จะขึ้นอืดเร็ว ไม่แข็งตัว ถ้าทำการเปิดผ่าซากจะพบเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ พบของเหลวสีน้ำเลือดภายในช่องอกและช่องท้อง ลำไส้อักเสบรุนแรงมีเลือดออก เลือดไม่แข็งตัวและม้ามขยายใหญ่เห็นได้ชัดเจน ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของโรคนี้ ในคนที่ทำการผ่าซากหรือบริโภคเนื้อสัตว์ป่วยด้วยโรคนี้แบบสุกๆ ดิบๆ จะพบแผลหลุมตามนิ้วมือ แขน หรือช่องปาก และมีอาการเจ็บปวดในช่องท้อง โรคนี้จะทำให้คนตายเสมอๆการตรวจวินิจฉัย1. ขณะสัตว์มีชีวิต ถ้าสงสัยว่าสัตว์ป่วยด้วยโรคแอนแทรกซ์ ให้เจาะเลือดก่อนทำการรักษาส่วนหนึ่งป้ายกระจก (silde) จำนวน 4 แผ่น และอีกส่วนหนึ่งเก็บใส่หลอดแก้วเลือดป้าย กระจก จำนวน 2 แผ่น ย้อมด้วยสี แกรม สเตน (Gram stain) แล้วตรวจหาเชื้อด้วยกล้องจุลทรรศน์ ถ้าพบเชื้อมีลักษณะเป็นแท่งขนาดใหญ่ ปลายตัดอยู่ต่อกันเหมือนตู้รถไฟและมีแคปซูลหุ้ม แสดงว่าเป็นเชื้อ B. anthracis เพื่อการตรวจยืนยันให้ส่ง กระจก (slide) ที่เหลือและเลือดในหลอดแก้วไปยังศูนย์วิจัยและชันสูตรโรคสัตว์ทำการวินิจฉัยอีกครั้ง2. เมื่อสัตว์ตาย ถ้าสงสัยว่าสัตว์ตายด้วยโรคแอนแทรกซ์ ควรทำการเจาะเลือดจากเส้นเลือดบริเวณโคนหาง คอ หรือหัวใจ นำเลือดที่ได้ป้าย กระจก (slide) ไว้ 4 แผ่น และเก็บในหลอดแก้วส่วนหนึ่ง ย้อมเลือดป้าย กระจก (slide) ตรวจหาเชื้อ B. anthracis ดังในข้อ 1 ถ้าตรวจพบเชื้อ B. anthracis ก็ให้ทำลายซากและส่งเลือดในหลอดแก้วและกระจก (slide) ที่เหลือตรวจยืนยันที่ห้องปฏิบัติการ แต่ถ้าตรวจไม่พบเชื้อให้ทำการเปิดผ่าซากตรวจดูวิการ แล้วเก็บอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ ปอด ตับ ม้าม ต่อมน้ำเหลืองและอื่นๆ ที่เห็นสมควรส่งตรวจ3. ในกรณีซากสัตว์ถูกชำแหละ ควรเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อ กระดูก หนัง ขน หรือดินบริเวณผ่าซากที่พบรอยเลือด ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ปกติห้ามผ่าซากการรักษาทำการรักษาในขณะที่สัตว์เริ่มแสดงอาการเช่น เมื่อพบสัตว์มีไข้สูง โดยให้ยาปฏิชีวนะ เพนนิซิลิน ในขนาด 1000 ยูนิตต่อน้ำหลักสัตว์ 1 กิโลกรัม หรือให้ออกซีเตตทราไซคลิน ในขนาด 5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักสัตว์ 1 กิโลกรัม
* * * กรณีสงสัยว่าสัตว์ป่วยเป็นโรคแอนแทรกซ์ ห้ามผ่าซาก * * *
กระดูก เนื้อตากแห้ง หนังสัตว์ สามารถนำเชื้อโรคแพร่ระบาดได้
การควบคุมและป้องกัน1. แยกสัตว์ป่วยออกจากฝูง2. ฝังหรือเผาซากสัตว์ตลอดจนดินบริเวณที่สัตว์ตาย การฝังควรขุดหลุมลึกประมาณ 2 เมตร โรยปูนขาวบนตัวสัตว์ก่อนกลบดิน3. ใช้นำยา ฟอร์มาลิน (Formalin) หรือ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (Sodium hydroxide) 5-10% ราดฆ่าเชื้อ4. กักดูอาการสัตว์ที่รวมฝูงกับสัตว์ป่วยหรือตาย5. ฉีดวัคซีนให้สัตว์อายุตั้งแต่หย่านมขึ้นไป ในรัศมี 10 กิโลเมตร จากจุดเกิดโรค โดยฉีดทุกๆ 6 เดือน ติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปี โค-กระบือ ฉีดเข้าใต้ผิวหนังตัวละ 1 มิลลิลิตร หลังฉีดวัคซีนแล้วบริเวณที่ฉีดจะบวม และสัตว์มีไข้เล็กน้อย 2-3 วัน วัคซีนนี้ไม่ควรฉีดสัตว์กำลังตั้งท้องเพราะจะทำให้แท้งได้การส่งตัวอย่างโค กระบือ - เก็บเลือดหลังจากสัตว์ตายใหม่ๆ โดยใช้ไม้ที่ปลายพันด้วยสำลี หรือผ้าพันแผลที่ฆ่าเชื้อโรคแล้วจุ่มในเลือด หรือสไลด์ป้ายเลือด หรือเจาะเลือดจากเส้นเลือดดำบริเวณลำคอ (jugular vein) สุกร - เก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อบริเวณที่บวมน้ำ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ
______________________ที่มาทัศนีย์ ชมภูจันทร์, มนัสนันนท์ ประสิทธิรัตน์ และมนยา เอกทัตร์ (บรรณาธิการ). 2539. คู่มือการดูแลสุขภาพโคนม" สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ. ฟันนี่พับบลิชิ่ง.ทัศนีย์ ชมภูจันทร์, สุรีย์ ธรรมศาสตร์, ปนันท์ ธนเจริญวัชร, จิรา คงครอง และเอกรินทร์ วัฒนพลาชัยกูร (บรรณาธิการ). 2539. คู่มือมาตรฐานการชันสูตรโรคสัตว์. สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ.โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
โรคปากและเท้าเปื่อย (Foot and mouth disease)
สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส เอฟ เอ็ม ดี (FMD) ที่พบในประเทศไทยมี 3 ไทป์ คือ โอ (O) เอ (A) และเอเชียวัน (Asia I) เชื้อทั้ง 3 ไทป์นี้ จะทำให้สัตว์ป่วยแสดงอาการเหมือนกัน แต่ไม่สามารถให้ภูมิคุ้มกันต่างไทป์ได้ กล่าวคือถ้าฉีดวัคซีน เอฟ ไทป์ เอ ให้ หรือสัตว์เคยป่วยเป็นโรคเอฟ ไทป์ เอ มาก่อน สัตว์จะมีภูมิคุ้มกันเฉพาะต่อโรคเอฟ ไทป์เอ เท่านั้น แต่จะไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคเอฟไทป์ โอ หรือ ไทป์ เอเชียวัน ดังนั้นหากมีโรคเอฟ ไทป์ โอ หรือเอเชียวันระบาดสัตว์ก็อาจจะติดโรคได้ โรคนี้มีระยะฟักตัว ประมาณ 2-8 วัน
อาการโคที่เป็นโรคนี้ จะมีไข้ ซึม เบื่ออาหาร หลังจากนั้นจะมีเม็ดตุ่มพอง เกิดที่ริมฝีปากในช่องปาก เช่น เหงือกและลิ้น ทำให้น้ำลายไหล กินอาหารไม่ได้ และเกิดเม็ดตุ่มที่ระหว่างช่องกีบ ไรกีบ ทำให้เจ็บมาก เดินกะเผลก เมื่อเม็ดตุ่มแตกออกอาจมีเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ทำให้แผลหายช้าขณะที่โคเป็นโรคจะผอมน้ำนมจะลดลงอย่างมาก ในโคอัตราการติดโรคสูงถึง 100% อัตราการตาย 0.2-5% ในลูกโคอัตราการตายอาจสูงถึง 50-70% โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกโคที่ยังดูดนมอัตราการตายอาจสูงถึง 100%
การตรวจวินิจฉัยเนื่องจากวัคซีนแต่ละไทป์ไม่สามารถให้ความคุ้มข้ามไทป์กันเมื่อมีสัตว์ป่วยด้วยโรคปากและเท้าเปื่อย ควรตรวจให้รู้ว่าเป็นไทป์ไหนเพื่อจะได้ฉีดวัคซีนป้องกันไทป์นั้น
การรักษาถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อน แผลจะหายเองใน 1-2 สัปดาห์ ถ้าแผลมีการติดเชื้อให้ทำความสะอาดแผล สำหรับที่กีบใส่ยาปฏิชีวนะชนิดที่ใช้ป้ายแผล เช่น เพนนิซิลิน หรือฟิวราโซลิโดน สำหรับที่ปากป้ายด้วยยาสีม่วง (เจนเชียนไวโอเลท)
การควบคุมและป้องกันฉีดวัคซีนโรคเอฟทั้ง 3 ไทป์ โดยฉีดครั้งแรกเมื่อโคอายุ 6 เดือน และฉีดซ้ำทุกๆ 6 เดือน
วัคซีนโรคปากและเท้าเปื่อย สำหรับโค-กระบือ เป็นวัคซีนเชื้อตายชนิดน้ำ (Aqueous vaccine) ผลิตจากเชื้อไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อย ซึ่งเตรียมจากเซลล์เพาะเลี้ยง ทำให้เข้มข้นบริสุทธิ์และทำให้หมดฤทธิ์ด้วยสาร Binary Ethylene Imine (BEI)
การใช้ ใช้ฉีดป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย สำหรับโค กระบือ แพะ แกะ
ส่วนประกอบ เป็นวัคซีนไทป์โอ เอ และเอเซียวันสเตรนท้องถิ่น มีการผลิตแบบชนิดไทป์เดียว (Monovalent) ชนิดรวม 2 ไทป์ (Bivalent) ชนิดรวม3 ไทป์ (Trivalent)
วิธีการใช้ ฉีดวัคซีนครั้งแรกตั้งแต่อายุ 4 เดือนถึง 6 เดือน
ฉีดครั้งที่ 2 หลังจากฉีดครั้งแรก 3 - 4 สัปดาห์ และฉีดซ้ำทุก 6 เดือน
ในกรณีที่เกิดโรคระบาด ให้ฉีดวัคซีนซ้ำทันทีทุกตัว
ก่อนใช้ต้องเขย่าขวดให้วัคซีนเข้ากันดีทุกครั้ง
ขนาดฉีด ตัวละ 2 มล.เข้าใต้ผิวหนัง
ความคุ้มโรค สัตว์จะมีความคุ้มโรคหลังจากฉีดวัคซีน 3 - 4 สัปดาห์ และมีความคุ้มโรคอยู่ได้นาน 6 เดือน
การเก็บรักษา เก็บในตู้เย็นอุณหภูมิ 4-6 องศาเซลเซียส ห้ามเก็บในช่องแช่แข็ง
ขนาดบรรจุ ขวดละ150 มล. (75 โด๊ส)
ข้อควรระวัง ควรฉีดวัคซีนก่อนการผสมพันธ์
ควรระวังเรื่องความสะอาดของอุปกรณ์และตำแหน่งที่ฉีด
ในกรณีที่สัตว์แสดงอาการแพ้วัคซีน แก้ไขโดยฉีดแอดรีนาลีน 1:1000 เข้ากล้ามเนื้อ0.5-1 มล. ต่อน้ำหนัก 50 กก. หรืออาจฉีดควบกับแอนติฮีสตามีน 0.5 – 1 มก. ต่อน้ำหนัก 1 กก. หมายเหตุ ในกรณีเกิดภาวะโรคปากและเท้าเปื่อยระบาด ควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ทันที
สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส เอฟ เอ็ม ดี (FMD) ที่พบในประเทศไทยมี 3 ไทป์ คือ โอ (O) เอ (A) และเอเชียวัน (Asia I) เชื้อทั้ง 3 ไทป์นี้ จะทำให้สัตว์ป่วยแสดงอาการเหมือนกัน แต่ไม่สามารถให้ภูมิคุ้มกันต่างไทป์ได้ กล่าวคือถ้าฉีดวัคซีน เอฟ ไทป์ เอ ให้ หรือสัตว์เคยป่วยเป็นโรคเอฟ ไทป์ เอ มาก่อน สัตว์จะมีภูมิคุ้มกันเฉพาะต่อโรคเอฟ ไทป์เอ เท่านั้น แต่จะไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคเอฟไทป์ โอ หรือ ไทป์ เอเชียวัน ดังนั้นหากมีโรคเอฟ ไทป์ โอ หรือเอเชียวันระบาดสัตว์ก็อาจจะติดโรคได้ โรคนี้มีระยะฟักตัว ประมาณ 2-8 วัน
อาการโคที่เป็นโรคนี้ จะมีไข้ ซึม เบื่ออาหาร หลังจากนั้นจะมีเม็ดตุ่มพอง เกิดที่ริมฝีปากในช่องปาก เช่น เหงือกและลิ้น ทำให้น้ำลายไหล กินอาหารไม่ได้ และเกิดเม็ดตุ่มที่ระหว่างช่องกีบ ไรกีบ ทำให้เจ็บมาก เดินกะเผลก เมื่อเม็ดตุ่มแตกออกอาจมีเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ทำให้แผลหายช้าขณะที่โคเป็นโรคจะผอมน้ำนมจะลดลงอย่างมาก ในโคอัตราการติดโรคสูงถึง 100% อัตราการตาย 0.2-5% ในลูกโคอัตราการตายอาจสูงถึง 50-70% โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกโคที่ยังดูดนมอัตราการตายอาจสูงถึง 100%
การตรวจวินิจฉัยเนื่องจากวัคซีนแต่ละไทป์ไม่สามารถให้ความคุ้มข้ามไทป์กันเมื่อมีสัตว์ป่วยด้วยโรคปากและเท้าเปื่อย ควรตรวจให้รู้ว่าเป็นไทป์ไหนเพื่อจะได้ฉีดวัคซีนป้องกันไทป์นั้น
การรักษาถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อน แผลจะหายเองใน 1-2 สัปดาห์ ถ้าแผลมีการติดเชื้อให้ทำความสะอาดแผล สำหรับที่กีบใส่ยาปฏิชีวนะชนิดที่ใช้ป้ายแผล เช่น เพนนิซิลิน หรือฟิวราโซลิโดน สำหรับที่ปากป้ายด้วยยาสีม่วง (เจนเชียนไวโอเลท)
การควบคุมและป้องกันฉีดวัคซีนโรคเอฟทั้ง 3 ไทป์ โดยฉีดครั้งแรกเมื่อโคอายุ 6 เดือน และฉีดซ้ำทุกๆ 6 เดือน
วัคซีนโรคปากและเท้าเปื่อย สำหรับโค-กระบือ เป็นวัคซีนเชื้อตายชนิดน้ำ (Aqueous vaccine) ผลิตจากเชื้อไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อย ซึ่งเตรียมจากเซลล์เพาะเลี้ยง ทำให้เข้มข้นบริสุทธิ์และทำให้หมดฤทธิ์ด้วยสาร Binary Ethylene Imine (BEI)
การใช้ ใช้ฉีดป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย สำหรับโค กระบือ แพะ แกะ
ส่วนประกอบ เป็นวัคซีนไทป์โอ เอ และเอเซียวันสเตรนท้องถิ่น มีการผลิตแบบชนิดไทป์เดียว (Monovalent) ชนิดรวม 2 ไทป์ (Bivalent) ชนิดรวม3 ไทป์ (Trivalent)
วิธีการใช้ ฉีดวัคซีนครั้งแรกตั้งแต่อายุ 4 เดือนถึง 6 เดือน
ฉีดครั้งที่ 2 หลังจากฉีดครั้งแรก 3 - 4 สัปดาห์ และฉีดซ้ำทุก 6 เดือน
ในกรณีที่เกิดโรคระบาด ให้ฉีดวัคซีนซ้ำทันทีทุกตัว
ก่อนใช้ต้องเขย่าขวดให้วัคซีนเข้ากันดีทุกครั้ง
ขนาดฉีด ตัวละ 2 มล.เข้าใต้ผิวหนัง
ความคุ้มโรค สัตว์จะมีความคุ้มโรคหลังจากฉีดวัคซีน 3 - 4 สัปดาห์ และมีความคุ้มโรคอยู่ได้นาน 6 เดือน
การเก็บรักษา เก็บในตู้เย็นอุณหภูมิ 4-6 องศาเซลเซียส ห้ามเก็บในช่องแช่แข็ง
ขนาดบรรจุ ขวดละ150 มล. (75 โด๊ส)
ข้อควรระวัง ควรฉีดวัคซีนก่อนการผสมพันธ์
ควรระวังเรื่องความสะอาดของอุปกรณ์และตำแหน่งที่ฉีด
ในกรณีที่สัตว์แสดงอาการแพ้วัคซีน แก้ไขโดยฉีดแอดรีนาลีน 1:1000 เข้ากล้ามเนื้อ0.5-1 มล. ต่อน้ำหนัก 50 กก. หรืออาจฉีดควบกับแอนติฮีสตามีน 0.5 – 1 มก. ต่อน้ำหนัก 1 กก. หมายเหตุ ในกรณีเกิดภาวะโรคปากและเท้าเปื่อยระบาด ควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ทันที
โรคบรูเซลโลซิส (Brucellosis)
โรคบรูเซลโลซิสหรือที่เกษตรกรนิยมเรียกว่า "โรคแท้ง" "โรคแท้งติดติดต่อ" เป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่สำคัญของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น โค กระบือ สุกร แพะ ม้า สุนัข เป็นต้น และติดต่อสู่คนได้ ลักษณะที่ควรสังเกตของโรคนี้ คือ สัตว์จะแท้งลูกในช่วงท้ายของการตั้งท้อง และอัตราการผสมติดในฝูงจะต่ำสาเหตุและการแพร่ของโรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ บรูเซลล่า (Brucella spp.) พบมีการแพร่ระบาดในทุกประเทศของโลก โดยเฉพาะโคนม ยังมีความสำคัญในด้านสุขภาพอนามัยของมนุษย์ด้วย เนื่องจากโรคนี้สามารถติดต่อถึงคนได้เรียกว่า อันดูแลนท์ ฟีเวอร์ (Undulant fever) พบว่าโคทุกอายุสามารถติดเชื้อนี้ได้แต่ในโคสาวแม่โค โคตั้งท้องและโคเพศผู้ที่โตเต็มวัย สามารถติดเชื้อนี้ได้ง่ายกว่าลูกโค โคส่วนมากจะติดเชื้อ โดยการกินอาหาร น้ำที่มีเชื้อปะปน ซึ่งเชื้อนี้จะออกมากับน้ำปัสสาวะ น้ำนม น้ำคร่ำ ของโคที่เป็นโรค หรืออาจติดเชื้อได้โดยการสัมผัสโดยตรงเชื้อเข้าทางผิวหนัง เยื่อชุ่ม โดยการหายใจ การผสมพันธุ์โดยวิธีธรรมชาติ แต่เกิดขึ้นได้น้อยมาก
ข้อเข่าอักเสบ และลูกอัณฑะอักเสบ
อาการแม่โคจะแท้งลูกในระยะตั้งท้องได้ 5-8 เดือน จะมีรกค้างและมดลูกอักเสบตามมาเสมอ การแท้งมักจะเกิดขึ้นในการตั้งท้องแรกเท่านั้น หลังจากนั้นอาจไม่แท้ง แต่จะเป็นตัวอมโรคแพร่ไปยังโคตัวอื่นๆ ได้ หรือลูกโคที่คลอดออกมาจะอ่อนแอไม่แข็งแรงหรืออาจเป็นหมัน การผสมติดในฝูงต่ำ โคเพศผู้ลูกอัณฑะจะบวมโตข้างใดข้างหนึ่งและเป็นหมัน อาจพบข้ออักเสบร่วมด้วยในคนจะมีอาการหนาวสั่นไข้ขึ้นๆ ลงๆ มีเหงื่อออกมากในเวลากลางคืนจะปวดเมื่อยตามข้อและตามกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ตัวเหลืองซีด
การตรวจวินิจฉัยการตรวจทางซีรั่มวิทยาเจาะเลือดโคตัวละประมาณ 5 ซีซี แยกเก็บน้ำเหลือง (ซีรั่ม) ถ้าไม่สามารถส่งได้ภายในวันนั้นจะต้องเก็บซีรั่มแช่แข็งไว้ ซีรั่มควรส่งไม่น้อยกว่าตัวละ 1 ซี.ซี.การตรวจทางซีรั่มวิทยาในห้องปฏิบัติการมี 4 วิธีคือ1. การตรวจด้วยวิธี โรส เบงกอล เทสต์ (Rose Bengal test) โดยใช้ซีรั่ม 1 หยด และน้ำยาตรวจ 1 หยด คนให้เข้ากัน ถ้ามีตะกอนเกิดขึ้นถือว่าเป็นโรค2. ตรวจด้วยวิธีทิว แอกกลูติเนชั่น เทสต์ (Tube Agglutination test) โคที่ฉีดวัคซีนหลังจากฉีดวัคซีนแล้ว 10 เดือน ถ้าให้ผลบวกตั้งแต่ 1:200 ให้ถือว่าเป็นโรค ส่วนโคที่ไม่ฉีดวัคซีนถ้าให้ผลบวกที่ 1:100 ขึ้นไปถือว่าเป็นโรค3. วิธีคอมพลีเมนต์ ฟิกเซชั่น เทสต์ Complement fixation test) เป็นวิธีการตรวจเพื่อยืนยันผลอีกขั้นหนึ่ง สำหรับในโคที่เป็นโรคเรื้อรัง4. วิธีอีไลซ่า (ELISA)
แอนติเจนของกรมปศุสัตว์ (สำนักเทคโนโลยีชีวภัณฑ์สัตว์)
แอนติเจนบรูเซลโลซีส ชนิดทดสอบบนแผ่นกระจก เป็นสารทดสอบโรคบรูเซลโลซีส ชนิดทดสอบบนแผ่นกระจก
การใช้ ใช้ทดสอบโรคบรูเซลโลซีส ( โรคแท้งติดต่อ ) ในโค กระบือ และสุกรที่เกิดจากเชื้อ Brucella abortus
ส่วนประกอบ ประกอบด้วยเชื้อ Brucella abortus สเตรน 1119-3 ปริมาณ 11 % suspension ผสมสี Crystal violet และ Brilliant green
วิธีการใช้ ก่อนใช้นำซีรั่มที่ต้องการตรวจ และแอนติเจนมาตั้งทิ้งไว้ให้มี่อุณหภูมิใกล้เคียงกับอุณหภูมิ ภายนอก
ใช้ pipette ขนาด 0.2 มล. ดูดซีรั่มขึ้นมาเหนือขีดสูงสุดแล้วปล่อยให้ไหลลงมาจนท้องน้ำของซีรั่มตรงกับขีดสูงสุด เอาปลาย pipette แตะกับแผ่นกระจก โดยให้ pipette ทำมุม 45 องศากับกระจก ปล่อยซีรั่มลงในช่องแผ่นกระจก ช่องละ 0.08 , 0.04, 0.02, 0.01 มล. ตามลำดับ
เขย่าแอนติเจนเบาๆ จนเข้ากัน ใช้ dropper หยดแอนติเจนในแนวตั้งฉากลงข้างๆ ซีรั่ม (0.03 มล.)
ใช้แท่งแก้วหรือไม้จิ้มฟันคนเป็นรูปวงกลมจากช่องที่มีซีรั่ม 0.01 มล. ก่อนแล้วจึงคนช่องที่มีซีรั่มมากขึ้นตามลำดับ ช่องแรกที่มีซีรั่ม 0.01 มล. คนให้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 ซม. และค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนถึงช่องที่มีซีรั่ม 0.08 มล. ให้มีขนาดประมาณ 3 ซม.
เอียงกระจกไปมา (Rotating movement) เพื่อให้ส่วนผสมเข้ากันเป็นเนื้อเดียวกัน ตั้งทิ้งไว้ 5 นาที เอียงกระจกไปมาอีกครั้ง
เมื่อครบ 8 นาที เอียงกระจกไปมาเล็กน้อยเพื่อดูปฏิกริยาที่เกิดขึ้น
การบันทึกปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น หมายถึง มีการจับกลุ่มจนหมด (Complete agglutination) แยกออกจากส่วนใสชัดเจน I หมายถึง มีการจับกลุ่มบางส่วน (Incomplete agglutination) จะเห็นมีการจับ กลุ่มบ้างแต่ไม่มีส่วนใสแยกออกมา - หมายถึง ไม่มีการจับกลุ่มเลย ( No agglutination) จะเห็นไม่มีการจับกลุ่มเลย มองดูเป็นเนื้อเดียวกันหมด
การแปลผลปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น ให้แปลผลเหมือนตารางด้านล่าง ของแอนติเจนบรูเซลโลซีสชนิดทดสอบในหลอดแก้ว (ยู เอส ดี เอ ) ทุกประการ
โรคบรูเซลโลซิสหรือที่เกษตรกรนิยมเรียกว่า "โรคแท้ง" "โรคแท้งติดติดต่อ" เป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่สำคัญของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น โค กระบือ สุกร แพะ ม้า สุนัข เป็นต้น และติดต่อสู่คนได้ ลักษณะที่ควรสังเกตของโรคนี้ คือ สัตว์จะแท้งลูกในช่วงท้ายของการตั้งท้อง และอัตราการผสมติดในฝูงจะต่ำสาเหตุและการแพร่ของโรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ บรูเซลล่า (Brucella spp.) พบมีการแพร่ระบาดในทุกประเทศของโลก โดยเฉพาะโคนม ยังมีความสำคัญในด้านสุขภาพอนามัยของมนุษย์ด้วย เนื่องจากโรคนี้สามารถติดต่อถึงคนได้เรียกว่า อันดูแลนท์ ฟีเวอร์ (Undulant fever) พบว่าโคทุกอายุสามารถติดเชื้อนี้ได้แต่ในโคสาวแม่โค โคตั้งท้องและโคเพศผู้ที่โตเต็มวัย สามารถติดเชื้อนี้ได้ง่ายกว่าลูกโค โคส่วนมากจะติดเชื้อ โดยการกินอาหาร น้ำที่มีเชื้อปะปน ซึ่งเชื้อนี้จะออกมากับน้ำปัสสาวะ น้ำนม น้ำคร่ำ ของโคที่เป็นโรค หรืออาจติดเชื้อได้โดยการสัมผัสโดยตรงเชื้อเข้าทางผิวหนัง เยื่อชุ่ม โดยการหายใจ การผสมพันธุ์โดยวิธีธรรมชาติ แต่เกิดขึ้นได้น้อยมาก
ข้อเข่าอักเสบ และลูกอัณฑะอักเสบ
อาการแม่โคจะแท้งลูกในระยะตั้งท้องได้ 5-8 เดือน จะมีรกค้างและมดลูกอักเสบตามมาเสมอ การแท้งมักจะเกิดขึ้นในการตั้งท้องแรกเท่านั้น หลังจากนั้นอาจไม่แท้ง แต่จะเป็นตัวอมโรคแพร่ไปยังโคตัวอื่นๆ ได้ หรือลูกโคที่คลอดออกมาจะอ่อนแอไม่แข็งแรงหรืออาจเป็นหมัน การผสมติดในฝูงต่ำ โคเพศผู้ลูกอัณฑะจะบวมโตข้างใดข้างหนึ่งและเป็นหมัน อาจพบข้ออักเสบร่วมด้วยในคนจะมีอาการหนาวสั่นไข้ขึ้นๆ ลงๆ มีเหงื่อออกมากในเวลากลางคืนจะปวดเมื่อยตามข้อและตามกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ตัวเหลืองซีด
การตรวจวินิจฉัยการตรวจทางซีรั่มวิทยาเจาะเลือดโคตัวละประมาณ 5 ซีซี แยกเก็บน้ำเหลือง (ซีรั่ม) ถ้าไม่สามารถส่งได้ภายในวันนั้นจะต้องเก็บซีรั่มแช่แข็งไว้ ซีรั่มควรส่งไม่น้อยกว่าตัวละ 1 ซี.ซี.การตรวจทางซีรั่มวิทยาในห้องปฏิบัติการมี 4 วิธีคือ1. การตรวจด้วยวิธี โรส เบงกอล เทสต์ (Rose Bengal test) โดยใช้ซีรั่ม 1 หยด และน้ำยาตรวจ 1 หยด คนให้เข้ากัน ถ้ามีตะกอนเกิดขึ้นถือว่าเป็นโรค2. ตรวจด้วยวิธีทิว แอกกลูติเนชั่น เทสต์ (Tube Agglutination test) โคที่ฉีดวัคซีนหลังจากฉีดวัคซีนแล้ว 10 เดือน ถ้าให้ผลบวกตั้งแต่ 1:200 ให้ถือว่าเป็นโรค ส่วนโคที่ไม่ฉีดวัคซีนถ้าให้ผลบวกที่ 1:100 ขึ้นไปถือว่าเป็นโรค3. วิธีคอมพลีเมนต์ ฟิกเซชั่น เทสต์ Complement fixation test) เป็นวิธีการตรวจเพื่อยืนยันผลอีกขั้นหนึ่ง สำหรับในโคที่เป็นโรคเรื้อรัง4. วิธีอีไลซ่า (ELISA)
แอนติเจนของกรมปศุสัตว์ (สำนักเทคโนโลยีชีวภัณฑ์สัตว์)
แอนติเจนบรูเซลโลซีส ชนิดทดสอบบนแผ่นกระจก เป็นสารทดสอบโรคบรูเซลโลซีส ชนิดทดสอบบนแผ่นกระจก
การใช้ ใช้ทดสอบโรคบรูเซลโลซีส ( โรคแท้งติดต่อ ) ในโค กระบือ และสุกรที่เกิดจากเชื้อ Brucella abortus
ส่วนประกอบ ประกอบด้วยเชื้อ Brucella abortus สเตรน 1119-3 ปริมาณ 11 % suspension ผสมสี Crystal violet และ Brilliant green
วิธีการใช้ ก่อนใช้นำซีรั่มที่ต้องการตรวจ และแอนติเจนมาตั้งทิ้งไว้ให้มี่อุณหภูมิใกล้เคียงกับอุณหภูมิ ภายนอก
ใช้ pipette ขนาด 0.2 มล. ดูดซีรั่มขึ้นมาเหนือขีดสูงสุดแล้วปล่อยให้ไหลลงมาจนท้องน้ำของซีรั่มตรงกับขีดสูงสุด เอาปลาย pipette แตะกับแผ่นกระจก โดยให้ pipette ทำมุม 45 องศากับกระจก ปล่อยซีรั่มลงในช่องแผ่นกระจก ช่องละ 0.08 , 0.04, 0.02, 0.01 มล. ตามลำดับ
เขย่าแอนติเจนเบาๆ จนเข้ากัน ใช้ dropper หยดแอนติเจนในแนวตั้งฉากลงข้างๆ ซีรั่ม (0.03 มล.)
ใช้แท่งแก้วหรือไม้จิ้มฟันคนเป็นรูปวงกลมจากช่องที่มีซีรั่ม 0.01 มล. ก่อนแล้วจึงคนช่องที่มีซีรั่มมากขึ้นตามลำดับ ช่องแรกที่มีซีรั่ม 0.01 มล. คนให้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 ซม. และค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนถึงช่องที่มีซีรั่ม 0.08 มล. ให้มีขนาดประมาณ 3 ซม.
เอียงกระจกไปมา (Rotating movement) เพื่อให้ส่วนผสมเข้ากันเป็นเนื้อเดียวกัน ตั้งทิ้งไว้ 5 นาที เอียงกระจกไปมาอีกครั้ง
เมื่อครบ 8 นาที เอียงกระจกไปมาเล็กน้อยเพื่อดูปฏิกริยาที่เกิดขึ้น
การบันทึกปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น หมายถึง มีการจับกลุ่มจนหมด (Complete agglutination) แยกออกจากส่วนใสชัดเจน I หมายถึง มีการจับกลุ่มบางส่วน (Incomplete agglutination) จะเห็นมีการจับ กลุ่มบ้างแต่ไม่มีส่วนใสแยกออกมา - หมายถึง ไม่มีการจับกลุ่มเลย ( No agglutination) จะเห็นไม่มีการจับกลุ่มเลย มองดูเป็นเนื้อเดียวกันหมด
การแปลผลปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น ให้แปลผลเหมือนตารางด้านล่าง ของแอนติเจนบรูเซลโลซีสชนิดทดสอบในหลอดแก้ว (ยู เอส ดี เอ ) ทุกประการ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ (Fasciolosis)
สาเหตุและการติดต่อเกิดจากพยาธิชนิดหนึ่งชื่อฟาสซิโอล่า ไจแกนติก่า (Fasciola gigantica) ซึ่งมีรูปร่างลักษณะคล้ายใบไม้ ขนาดตัวยาว 30-55 มิลลิเมตร กว้าง 9-15 มิลลิเมตร ลำตัวแบน ส่วนหน้ากว้างกว่าส่วนท้าย อาศัยอยู่ในถุงน้ำดีและท่อน้ำดี ขณะที่พยาธิชนิดนี้ยังมีชีวิตอยู่มีสีน้ำตาลปนเทา พยาธิตัวแก่มีทั้งเพศผู้และเพศเมียอยู่ในตัวเดียวกัน เมื่อพยาธิตัวแก่เจริญเติบโตเต็มที่ก็จะออกไข่ในถุงน้ำดีและท่อน้ำดี ไข่จะไหลผ่านท่อน้ำดีมาที่ลำไส้เล็กและปนออกมากับอุจจาระเมื่อมีความชุ่มชื้นหรืออุณหภูมิพอเหมาะไข่จะฟักเป็นตัวอ่อนในน้ำแล้วเข้าไปเจริญเติบโตและแบ่งตัวอยู่ในหอยคันก้นแหลม (Lymnaea rubiginosa) ระยะหนึ่ง จากนั้นจะออกจากหอยคันไปเกาะอยู่ตามใบไม้ ใบหญ้า หรือวัชพืชริมน้ำ เมื่อสัตว์กินหญ้าหรือวัชพืชที่มีตัวอ่อนระยะนี้เข้าไป ตัวอ่อนจะไชผ่านและไปเจริญเติบโตเป็นพยาธิตัวแก่ที่ท่อน้ำดีและถุงน้ำดี แล้วปล่อยไข่ออกมากับอุจจาระอีก นอกจากนี้พยาธิยังกินเนื้อเยื่อตับพร้อมกับปล่อยสารพิษออกมาขัดขวางการสร้างและทำลายเม็ดเลือดแดงของสัตว์นั้น มีผลทำให้สัตว์โลหิตจางอาการมักพบในโคที่มีอายุตั้งแต่ 8 เดือนขึ้นไป อาการป่วยอาจพบได้ 2 ลักษณะ คือ1. อาการเฉียบพลัน เกิดขึ้นเมื่อโคกินตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิเข้าไปพร้อมกันมากๆ พยาธิจะไชเข้าตับทำให้เกิดแผลและมีเลือดออกมาก โคจะตายกระทันหันโดยไม่แสดงอาการล่วงหน้า พบมากในโคอายุน้อย2. อาการเรื้อรัง มักพบในโคที่โตแล้ว โคที่เป็นโรคจะซูบผอม เบื่ออาหาร ท้องอืดบ่อยๆ โลหิตจาง สังเกตได้จากเยื่อเมือกที่ตาและปากซีด ในแม่โครีดนมปริมาณน้ำนมลดลง ผิวหนังหยาบ มีอาการบวมน้ำใต้คาง ท้องผูกสลับกับท้องเสีย และตายในที่สุดการตรวจวินิจฉัยตรวจหาไข่ในอุจจาระด้วยวิธีตกตะกอนการรักษาการดูแลรักษาเบื้องต้น ในกรณีที่ตรวจพบว่าเป็นโรคพยาธิใบไม้ตับควรให้ยาถ่ายพยาธิทันทีด้วยยาที่ออกฤทธิ์ต่อพยาธิใบไม้ตับต่อไปนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น1. นิโคลโฟแลน หรือ บิเลวอน ขนาด 1.0 ซี.ซี./น้ำหนักสัตว์ 50 กิโลกรัม ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง2. โคลซานเทล หรือ ฟลูกิเวอร์ ขนาด 1 ซี.ซี./น้ำหนักสัตว์ 20 กิโลกรัม ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง3. อัลเบนดาโซล หรือ วัลบาเซนให้กินขนาด 1 ซี.ซี./น้ำหนักสัตว์ 10 กิโลกรัม4. ทริคลาเบนดาโซล หรือ ฟาซิเน็กซ์ ให้กินขนาด 12 มิลลิกรัม/น้ำหนักสัตว์ 1 กิโลกรัม5. คลอซูลอนหรือ ไอโวเมค-เอฟ ขนาด 1 ซี.ซี. /น้ำหนักสัตว์ 50 กิโลกรัม ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง6. ไบไทโอนอล ซัลฟอกไซด์ หรือ เลวาซิด ให้กินขนาด 4.5 กรัม/น้ำหนักสัตว์ 100 กิโลกรัมข้อควรระวังการใช้ยาเหล่านี้ต้องให้ตามขนาดยาที่กำหนด มิฉะนั้นอาจเป็นอันตรายต่อสัตว์ได้ และถ้าสัตว์ป่วยอ่อนแอมากๆ ควรให้ยาบำรุงควบคู่ไปด้วยในแม่โครีดนม ถ้าอาการไม่รุนแรงมากควรรอจนกว่าจะถึงระยะแห้งนม (ดราย) จึงให้ยาถ่ายพยาธิการควบคุมและป้องกัน1. ไม่ปล่อยให้โคไปกินหญ้าหรือพืชน้ำในแหล่งที่มีการระบาดของพยาธิใบไม้ตับอยู่2. ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ควรจัดให้มีการระบายน้ำอย่างดี อย่าให้มีน้ำขังนานเพราะจะเป็นที่อยู่ของหอยได้3. ควรมีการตรวจอุจจาระโคเป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้ง4. ในแหล่งที่มีการระบาดของพยาธิใบไม้ตับ ควรให้ยาถ่ายพยาธิแก่โคที่มีอายุตั้งแต่ 8 เดือนขึ้นไป เป็นประจำปีละ 2 ครั้ง โดยให้ครั้งแรกในเดือนสิงหาคม-กันยายน เพื่อลดอัตราการติดโรคในหอยและให้ยาครั้งต่อไปในเดือนมีนาคม-เมษายน ของปีถัดไป เพื่อให้สัตว์หายจากโรคและมีสุขภาพดีขึ้นแม่โครีดนมควรให้ยาถ่ายพยาธิในระยะแห้งนม (ดราย) ไม่ควรให้ยาถ่ายพยาธิในขณะที่รีดนมอยู่ เพราะจะมีการตกค้างของยาในน้ำนม
---------------------------------ที่มา ทัศนีย์ ชมภูจันทร์, มนัสนันนท์ ประสิทธิรัตน์ และมนยา เอกทัตร์ (บรรณาธิการ). 2539. คู่มือการดูแลสุขภาพโคนม" สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ. ฟันนี่พับบลิชิ่ง.ทัศนีย์ ชมภูจันทร์, สุรีย์ ธรรมศาสตร์, ปนันท์ ธนเจริญวัชร, จิรา คงครอง และเอกรินทร์ วัฒนพลาชัยกูร (บรรณาธิการ). 2539. คู่มือมาตรฐานการชันสูตรโรคสัตว์. สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ.โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
โรคพยาธิใบไม้ในกระเพาะ (Paramphistomosis)
สาเหตุเกิดจากพยาธิกลุ่มแอมฟิสโตม (Amphistome) ซึ่งมีหลายชนิดส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในกระเพาะหมัก มีเพียงชนิดเดียวที่อาศัยอยู่ที่ถุงน้ำดีและท่อน้ำดี ซึ่งเป็นชนิดที่เป็นอันตรายมากการติดต่อพยาธิใบไม้ในกระเพาะหมักมีหอยคันตัวแบนคล้ายเลขหนึ่ง (Indoplanorbis exustus) เป็นพาหะนำ ระยะตัวอ่อนจะต้องเข้าไปเจริญเติบโตในหอยก่อน เมื่อเจริญเป็นตัวอ่อนระยะติดต่อจึงจะออกจากหอยมาเกาะอยู่บนหญ้าและพืชผักที่อยู่ในน้ำ เมื่อโคกินหญ้าที่มีตัวอ่อนของพยาธิระยะนี้ติดอยู่เข้าไปก็จะเป็นโรคได้อาการโดยทั่วไปพยาธิชนิดนี้มีผลต่อสุขภาพโคไม่ค่อยเด่นชัด ยกเว้นในกรณีต่อไปนี้ คือ1. ตัวอ่อนพยาธิ ก่อนที่จะเข้ามาอยู่ที่กระเพาะ จะฝังตัวอยู่ที่ลำไส้เล็กและกินเนื้อเยื่อบริเวณนี้ถ้ามีปริมาณมากจะทำให้เกิดการอักเสบ โคแสดงอาการท้องเสียอย่างรุนแรง อุจจาระมีกลิ่นเหม็น มีฟองและสีออกเขียว2. พยาธิชนิดที่อยู่ในท่อน้ำดี จะทำให้มีอาการทำนองเดียวกับพยาธิใบไม้ตับการตรวจวินิจฉัย1. ตรวจหาไข่ในอุจจาระ แต่จะไม่สามารถแยกได้ว่าเป็นพยาธิชนิดที่อยู่ในกระเพาะหรืออยู่ในท่อน้ำดี2. พยาธิตัวอ่อน ไม่สามารถชันสูตรโดยการตรวจอุจจาระต้องผ่าซากและหารอยโรคบริเวณลำไส้เล็ก ถ้าโคตายเนื่องจากตัวอ่อนของพยาธิจะพบตัวพยาธิเป็นจำนวนมากบริเวณลำไส้เล็กและอาจพบตัวอ่อนปะปนออกมากับอุจจาระได้การควบคุมและป้องกันเนื่องจากเป็นพยาธิที่พบได้กว้างขวางทั้งในโคและกระบือการป้องกันจึงทำได้ยากมาก วิธีที่ดีที่สุด คือ เกษตรกรควรมีแปลงหญ้าของตนเองและเกี่ยวหญ้าจากแปลงให้โคกิน
---------------------------------ที่มาทัศนีย์ ชมภูจันทร์, มนัสนันนท์ ประสิทธิรัตน์ และมนยา เอกทัตร์ (บรรณาธิการ). 2539. คู่มือการดูแลสุขภาพโคนม" สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ. ฟันนี่พับบลิชิ่ง.ทัศนีย์ ชมภูจันทร์, สุรีย์ ธรรมศาสตร์, ปนันท์ ธนเจริญวัชร, จิรา คงครอง และเอกรินทร์ วัฒนพลาชัยกูร (บรรณาธิการ). 2539. คู่มือมาตรฐานการชันสูตรโรคสัตว์. สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ.โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
โรคพยาธิเส้นด้าย (Strongylodosis)
สาเหตุเกิดจากพยาธิเส้นด้าย (Strongylodes papillosus) เป็นพยาธิตัวกลมที่พบอยู่ในชั้นต่อมของอีพีทีเลี่ยม (epthelium) และเยื่อเมือก (submucosa) ของลำไส้เล็กในโค มีขนาดยาว 3-8 มิลลิเมตร กว้าง 50-60 ไมครอนการติดต่อพบหนอนพยาธิชนิดนี้ได้เสมอในลูกสัตว์โดยเฉพาะลูกโคจะมีความไวต่อการรับเชื้อในขณะที่สัตว์โตแล้วจะไม่ค่อยติดเชื้อนี้ ลูกโคจะติดเชื้อโดยเฉพาะลูกโคดูดน้ำนมจากแม่เมื่อคลอดใหม่ๆ หรือติดโดยที่เชื้อไชผ่านเข้าผิวหนังบริเวณซอกกีบ, ผิวหนังที่ท้องอาการลูกโคจะท้องเสียอย่างอ่อน/รุนแรง (ความรุนแรงขึ้นอยู่กับการได้รับเชื้อมากหรือน้อย, อายุลูกสัตว์และสภาพร่างกายทั่วๆ ไป) ถ้าลูกสัตว์ได้รับเชื้อเข้าไปพร้อมๆ กันจำนวนมาก อาจตายอย่างเฉียบพลัน โดยไม่แสดงอาการอะไรให้เห็นการตรวจวินิจฉัยเก็บอุจจาระมาเตรียมตามวิธีลอยตัว (floatation) ด้วยน้ำเกลืออิ่มตัว แล้วนำส่วนที่ลอยตัวซึ่งติดอยู่กับคอพเวอร์กล๊าสวางบนสไลด์แล้วตรวจหาไข่พยาธิเส้นด้ายด้วยกล้องจุลทรรศน์การรักษาใช้ยากลุ่มเบนซิมิดาโซล (Benzimidazole cpd.) เช่น อัลเบนดาโซล ไทยอะเบนดาโซล (albendazole, thiabendazole) และกลุ่มอิมิคาโซไทอะโซล ดีริเวทีบ (Imidazothiazole derivatives) เช่น เตตระมิโซล เลวามิโซล (tetramisole, levamisole)การควบคุมและป้องกันดูแลพื้นคอกโดยเก็บกวาดอุจจาระและล้างพื้นให้สะอาดทุกวัน
---------------------------------ที่มาทัศนีย์ ชมภูจันทร์, มนัสนันนท์ ประสิทธิรัตน์ และมนยา เอกทัตร์ (บรรณาธิการ). 2539. คู่มือการดูแลสุขภาพโคนม" สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ. ฟันนี่พับบลิชิ่ง.ทัศนีย์ ชมภูจันทร์, สุรีย์ ธรรมศาสตร์, ปนันท์ ธนเจริญวัชร, จิรา คงครอง และเอกรินทร์ วัฒนพลาชัยกูร (บรรณาธิการ). 2539. คู่มือมาตรฐานการชันสูตรโรคสัตว์. สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ.โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
หนอนพยาธิตัวกลมที่สำคัญในทางเดินอาหาร (Gastro-intestinal nematode)
สาเหตุหนอนพยาธิตัวกลมในทางเดินอาหารมีหลายชนิด อาศัยอยู่ในกระเพาะที่สี่ (abomasum) ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ เช่น พยาธิเมซิสโตเซอร์รัส (Mecistocirrus spp.) พยาธิเม็ดตุ่ม (Oesophagostomum spp.) และพยาธิปากขอ (Bunostomum spp., Haemonchus spp.) เป็นต้น พยาธิเหล่านี้ดูดเลือดเป็นอาหาร และมักเป็นอันตรายร้ายแรงในโคอายุ 6 เดือนขึ้นไปการติดต่อเกิดจากโคกินตัวอ่อนพยาธิระยะติดต่อ (infective stage) ที่อาศัยอยู่ตามหญ้าเข้าไป โดยในเวลาเช้าก่อนที่แดดจะแรงกล้าตัวอ่อนของพยาธิจะไต่ขึ้นมาอยู่ที่ยอดหญ้า โคจะติดโรคได้โดยกินหญ้าบริเวณนั้นเข้าไป หรือในกรณีที่ไม่ได้ปล่อยโคลงแปลงหญ้าโคเป็นโรคได้โดยกินหญ้าที่มีพยาธิตัวอ่อนซึ่งติดมากับหญ้าที่เจ้าของไปตัดมาให้กินอาการโคจะผอม โลหิตจาง ท้องเสียเรื้อรังบวมน้ำใต้คาง และเติบโตช้าการตรวจวินิจฉัยตรวจหาไข่พยาธิในอุจจาระโคที่เตรียมตามวิธีลอยตัว (flotation) ด้วยน้ำเกลือและแยกชนิดหนอนพยาธิโดยดูตัวอ่อนระยะติดต่อที่ได้จากการเพาะไข่พยาธิการรักษาเมื่อตรวจพบว่าโคป่วยเนื่องจากพยาธิชนิดนี้ ให้ทำการรักษาโดยใช้ยาต่อไปนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
ชื่อสามัญ ชื่อการค้า ขนาดยา วิธีการให้
เลวามิโซล ซิตาริน แอล 1 ซี.ซี./น้ำหนัก 20 กิโลกรัม ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง หรือเข้ากล้ามเนื้อ
อัลเบนดาโซล วัลบาเซน 1 ซี.ซี./น้ำหนัก 10 กิโลกรัม ให้กิน
ไทโอฟาเนท เนมาแฟกซ์ 50 มิลลิกรัม/น้ำหนัก 1 กิโลกรัม ให้กิน
เฟแบนเทล รินตัลรินตัล โบลัส 7.5 มิลลิกรัม/น้ำหนัก 1 กิโลกรัม600 มิลลิกรัม/น้ำหนัก 120 กิโลกรัม ให้กินให้กิน
เฟนเบนดาโซล พานาคูร์ 7.5 มิลลิกรัม/น้ำหนัก 1 กิโลกรัม ให้กิน
อ๊อกเฟนดาโซล ซินแนนทิก 2.5 มิลลิกรัม/น้ำหนัก 1 กิโลกรัม ให้กิน
ไอเวอเม็กติน ไอโวเม็ก 0.2 มิลลิกรัม/น้ำหนัก 1 กิโลกรัม ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
การควบคุมและป้องกัน1. ให้ยาถ่ายพยาธิลูกโคที่อายุ 6 เดือนขึ้นไป ปีละ 2 ครั้ง2. ในโครีดนมควรให้ยาถ่ายในช่วงพักการให้น้ำนม (ดราย)
---------------------------------ที่มาทัศนีย์ ชมภูจันทร์, มนัสนันนท์ ประสิทธิรัตน์ และมนยา เอกทัตร์ (บรรณาธิการ). 2539. คู่มือการดูแลสุขภาพโคนม" สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ. ฟันนี่พับบลิชิ่ง.ทัศนีย์ ชมภูจันทร์, สุรีย์ ธรรมศาสตร์, ปนันท์ ธนเจริญวัชร, จิรา คงครอง และเอกรินทร์ วัฒนพลาชัยกูร (บรรณาธิการ). 2539. คู่มือมาตรฐานการชันสูตรโรคสัตว์. สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ.โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.