การขนส่งสัตว์ไปยังโรงฆ่า การขนส่งสัตว์ไปสู่โรงฆ่าสัตว์นับเป็นขั้นตอนที่สำคัญต่อคุณภาพเนื้อเป็นอย่างมากเพราะอาจทำให้สัตว์บาดเจ็บ มีรอยช้ำ จุดเลือด หรือสัตว์ตายได้ ปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ ได้แก่ พาหนะที่ใช้บรรทุก ระยะทางในการขนส่ง สภาพภูมิอากาศ ความแออัด อุปกรณ์ที่ใช้ในการขนย้าย เป็นต้น การดำเนินการในขั้นตอนการขนส่งสัตว์ จะต้องกระทำ ด้วยความระมัดระวังให้ได้ตามมาตรฐานสากลและควรมีความปราณีต่อสัตว์ การขนส่งสัตว์มีชีวิตและซากสัตว์ ควรปฏิบัติดังนี้ 1. รถที่ใช้ขนส่งซากสัตว์และเนื้อสัตว์ ต้องสะอาดสามารถป้องกันการปนเปื้อนซากสัตว์และเนื้อสัตว์ในขณะขนส่งได้ และไม่ควรขนส่งซากสัตว์ และเนื้อสัตว์ปะปนกับสินค้าชนิดอื่น
2. ซากสัตว์และเนื้อสัตว์จะต้องบรรจุในภาชนะสะอาดปิดมิดชิด ในกรณีที่รถขนส่ง ไม่สามารถป้องกันการปนเปื้อนขณะขนส่งได้
3. รถขนส่งซากต้องผ่านการล้างทำความสะอาด และฆ่าเชื้อโรคก่อนที่จะบรรทุกซากและเนื้อสัตว์
4. การขนส่งซากสัตว์และเนื้อสัตว์ที่ใช้เวลาเกินกว่า 2 ชั่วโมง ควรมีการควบคุมอุณหภูมิตามจำเป็น
5. มีการปรับปรุงรถขนส่งสัตว์มีชีวิต เพื่อลดอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับสัตว์ และลดความเครียดระหว่างการขนส่ง
6. ในการนำสัตว์มีชีวิตขึ้นลงรถขนส่ง ควรมีทางลาดให้สัตว์เดิน หรือมีอุปกรณ์ช่วยยกภาชนะบรรจุสัตว์ขึ้นลง
7. มีรถบรรทุกขนส่งซากสัตว์และเนื้อสัตว์ที่ปิดมิดชิด สะอาด และสามารถควบคุมอุณหภูมิซากสัตว์ และเนื้อสัตว์ได้ตลอดระยะเวลาการขนส่ง โดยอุณหภูมิซากสัตว์และเนื้อสัตว์ต้องไม่สูงเกิน 7 องศาเซลเซียส
8. รถขนส่งจะต้องเปิดเครื่องทำความเย็นให้ได้อุณหภูมิตามที่กำหนดก่อนขนส่งซากสัตว์และเนื้อสัตว์ขึ้นรถ
9. มีการตรวจสอบความสะอาด และอุณหภูมิรถขนส่งก่อนนำซากสัตว์และเนื้อสัตว์ขึ้นรถ
การขนส่งสัตว์ปีกมีชีวิต (transportation for poultry)
1. พาหนะขนส่งสัตว์ปีก
1.1 ต้องแข็งแรง และเหมาะสมกับชนิดของสัตว์ปีกและจำนวนของกรงบรรจุสัตว์ปีก
1.2 มีช่องระบายอากาศอย่างพอเพียง ไม่ปิดทึบ พื้นไม่ลื่น ไม่มีการระบายของเสียและน้ำระหว่าง
การขนส่ง มีวัสดุหรือหลังคาสำหรับป้องกันแดดและฝน
1.3 ในการขนส่ง สัตว์ปีกที่บรรจุในแต่ละกรงบรรจุมีจำนวนเหมาะสมกับขนาดของกรง
1.4 กรงบรรจุควรมีความสูงและพื้นที่เพียงพอที่สัตว์ปีกยืนและนั่งได้
2. วิธีการขนส่ง
2.1 การขนส่งต้องปฏิบัติตามระเบียบกรมปศุสัตว์
2.2 ขณะขนส่งต้องหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดการบาดเจ็บกับสัตว์ปีก เช่น ขับเคลื่อน
รถบรรทุกสัตว์ปีกอย่างระมัดระวัง ไม่ออกรถโดยเร็วหรือหยุดโดยกะทันหัน
2.3 ไม่ขนส่งสัตว์ที่เจ็บป่วยร่วมไปกับสัตว์ปกติ
2.4 ระยะเวลาในการขนส่งควรสั้นที่สุด เพื่อให้สัตว์เกิดความเครียดน้อยที่สุด
2.5 งดให้อาหารกับสัตว์ปีก อย่างน้อย 1 ชั่วโมง ก่อนการขนส่ง
2.6 ตรวจดูสัตว์ปีกขณะขนส่งเป็นระยะๆ
2.7 ควรขนส่งสัตว์ปีกมาถึงโรงฆ่าก่อนเวลาฆ่าอย่างน้อย 30 นาที เพื่อให้สัตว์ปีกได้พักก่อนฆ่า
การรับสัตว์ปีกมีชีวิต (reception of poultry)
1. เมื่อสัตว์ปีกถึงโรงฆ่า ให้มีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารที่เกี่ยวข้องตาม
กฎหมาย
2. บริเวณที่พักยานพาหนะที่มีสัตว์ปีกบรรทุกอยู่ ควรมีหลังคาที่สามารถป้องกันแสงแดดและฝน
ได้ มีระบบระบายอากาศที่ดี อุณหภูมิเหมาะสม และรอฆ่าตามลำดับที่กำหนด
3. การเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกต้องทำด้วยความระมัดระวัง
4. ชั่งน้ำหนัก และตรวจนับจำนวนสัตว์ปีก มกอช. 9008-25487
5. ตรวจสุขภาพสัตว์ปีกก่อนฆ่า โดยการตรวจสุขภาพและความผิดปกติ เช่น การหายใจ การ
เคลื่อนไหว และบันทึกผลในรายงานการตรวจสัตว์ปีกก่อนฆ่า ณ หน้าโรงฆ่า โดยพนักงานตรวจโรคสัตว์
6. ในกรณีที่พบสัตว์ปีกที่ป่วยหรือสงสัยว่าป่วยให้แยกกักไว้ในโรงพักสัตว์ปีกป่วย และฆ่าภายหลัง
เสร็จสิ้นกระบวนการฆ่าสัตว์ปีกปกติแล้ว หากพบโรคติดต่อให้นำไปเผาในเตาเผา (incinerator) หรือต้มเพื่อทำลาย และแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
7. กรณีพบสัตว์ปีกที่ได้รับบาดเจ็บรุนแรง เพื่อไม่ให้สัตว์ปีกได้รับความทรมานจะต้องฆ่าสัตว์ปีก
นั้นอย่างไม่ทรมานทันที
8. ภายหลังนำสัตว์ปีกลงจากพาหนะหมดแล้ว ให้ทำความสะอาดและใช้ยาฆ่าเชื้อกรงบรรจุและ
พาหนะที่ใช้บรรทุกสัตว์ปีกทุกครั้งหลังการขนส่ง
9. หลังฆ่าสัตว์ปีกหมดแล้ว ให้ล้างทำความสะอาดบริเวณโรงพักสัตว์ปีก ได้แก่ ที่พักสัตว์ปีก ที่จับ
สัตว์ปีกขึ้นราว และรางระบายน้ำ
การขนส่งซากสัตว์ปีก เนื้อสัตว์และผลผลิต (transportation for poultry carcass,meat and products)
1. พาหนะที่ใช้ขนส่งต้องสามารถควบคุมอุณหภูมิศูนย์กลางเนื้อ ให้ไม่เกิน 7oC ตลอดเวลา
มกอช. 9008-254811
2. การเคลื่อนย้ายซากสัตว์ปีก เนื้อสัตว์ปีกและผลผลิตเพื่อการขนส่ง ต้องทำด้วยความระมัดระวัง
เพื่อป้องกันภาชนะบรรจุแตกหักเสียหาย
3. ประตูรถบรรทุกหรือตู้เก็บ (container) ต้องปิดสนิท ถ้าจำเป็นต้องใส่กุญแจ หรือมัดแน่นด้วย
ลวด หรือวัสดุอื่นที่มีเครื่องหมายแสดงว่าไม่มีการเปิดในขณะขนส่ง
4. ห้ามขนส่งด้วยยานพาหนะคันเดียวกับที่ขนส่งสัตว์ปีกมีชีวิต
5. พาหนะขนส่งหรือตู้เก็บจะต้องล้างหรือทำความสะอาดให้เรียบร้อยก่อนและหลังการขนส่ง
ข้อควรคำนึงในการขนส่ง
เมื่อสัตว์ถูกขนส่งออกจากฟาร์มสัตว์ปีกมักจะถูกขนส่งและบรรจุในกรงซึ่งกรงที่ไม่ได้รับการทำความสะอาดจะเป็นแหล่งปนเปื้อนที่สำคัญโดยสัตว์ปีกจะมีการกระพือปีกและมีมูลสัตว์ที่ตกค้างดังนั้นกรงและรถบรรทุกจึงเป็นแหล่งสะสมของจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคหลายชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Salmonella campylobacter (Berang และคณะ, 2000; Ramesh และคณะ, 2003) กรงที่ใช้ในการขนส่งสัตว์ปีกเป็นจุดที่ทำให้เกิดการปนเปื้อนต่อสัตว์ปีกที่สำคัญ เนื่องจากไม่ได้มีการทำความสะอาดและใช้ซ้ำ จึงเป็นแหล่งสะสมของจุลินทรีย์ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค (Slader และคณะ,2002) ดังนั้นจึงควรมีการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ โดยอาจใช้น้ำผสมสารทำความสะอาด (cleaning agent ) ชำระล้างสิ่งสกปรก เช่น ขนไก่ หรือ ฝุ่นผงออกก่อนแล้วจึงแช่ใน สารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรด์เข้มข้น 1000 พีพีเอ็ม ที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 นาทีเพื่อทำลายจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อน (Ramesh และคณะ,2003)
สำหรับสัตว์ใหญ่ เช่น วัวและสุกรก็มีการขนส่งในลักษณะเดียวกัน โดยจุลินทรีย์อาจมาจากขน หนัง กีบเท้า (Reid และคณะ, 2002) และมูลสัตว์จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคส่วนใหญ่คือ Escherichia coli O 157 :H7, Salmonella, Campylobacter, Yersinia และ Listeria monocytogene (Beach และคณะ, 2002; Chang และคณะ, 2003; Lo Fo Wong และคณะ, 2002; Castillo และคณะ,2003) บริเวณตรวจรับสัตว์หรือตรวจรับวัตถุดิบ คือ เนื้อสัตว์สด ในกรณีที่ไม่ได้ทำการฆ่าสัตว์นั้นในโรงงานเองเป็นบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสูง จากงานวิจัยของ Ellebroek (1997) พบว่าจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนมากับอากาศ Enterobacteriaceae จะตรวจพบมากบริเวณรับสัตว์ปีกก่อนนำเข้าสู่โรงฆ่าและในส่วนของบริเวณชำแหละรวมทั้งการปนเปื้อนจากซากหนึ่งไปยังอีกซากหนึ่ง จากการใช้เครื่องมือร่วมกันหรือมือของพนักงานที่ไม่สะอาด (Legg และคณะ,1999; Lo Fo Wongและคณะ,2002) เช่น การลวกซากสัตว์ปีกก่อนการถอนขนอาจช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ที่ผิวได้แต่มีการพบว่า หลังเสร็จสิ้นการถอนขนโดยใช้เครื่อง จำนวนของ Campylobacter, coliforms และ E. coli เพิ่มขึ้น(Berrang และคณะ,2000) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอาจเกิดการปนเปื้อนข้ามมาจากเครื่องมือที่ใช้
วันอังคารที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
ขอไว้อาลัยแด่ คุณครูมณฑิตย์สา มั่นฤกษ์
ขอแสดงความเสียใจ กับการจากไปของคุณครูมณฑิตย์สา มั่นฤกษ์ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2552 พวกเราจะจดจำและระลึกอยู่เสมอว่าครั้งหนึ่ง เคยนั่งเรียนอยู่ร่วมชั้นเดียวกัน เป็นเวลาร่วมปี จนกระทั่งจบการศึกษา และคุณงามความดีที่คุณครูมณฑิตย์สา มั่นฤกษ์ ได้กระทำมาทั้งหมดเมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ พวกเราขอให้ดวงวิญญาณของคุณครูมณฑิตย์สา มั่นฤกษ์ จงไปสู่สุขคติด้วยเถิด
ป.บัณฑิต การบริหารการศึกษา รุ่น 8 และ ป.โท การบริหารการศึกษา รุ่น 13
วันเสาร์ที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒
ความคิดเห็นการใช้กฏหมายแก้ปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และเครื่อข่ายอินเตอร์เน็ต
3. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย (กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550) เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด จงอภิปรายถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องให้เห็นเป็นรูปธรรม
ตอบ เห็นด้วยกับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย (กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550) เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด เพราะเราจะพบว่า ในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้เข้ามามีบทบาทมาก และทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นตามลำดับต่อระบบเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศไทย แต่ในขณะเดียวกันการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ก็มีแนวโน้มขยายวงกว้างและทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นด้วย โดยขอสรุปประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบับนี้ในด้าน ๆ ดังนี้
1. ความผิดสำหรับแฮคเกอร์ พอจะสรุปเป็นประเด็นสำคัญได้ดังนี้
1.1 เข้าเว็บสาธารณะย่อมไม่มีความผิด แต่ผู้ที่เจาะระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่สร้างระบบป้องกันไว้ มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท แต่ถ้าเจาะเข้าไปถึงข้อมูลที่เก็บรักษาไว้ด้วย โทษจะเพิ่มเป็น 2 เท่า
1.2 ผู้ที่เผยรหัส (password) ที่ตัวเองรู้มา สำหรับเพื่อใช้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ มีโทษจำคุก 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท 1.3 ผู้ที่ดักจับข้อมูลที่เป็นส่วนตัว ซึ่งส่งถึงกันทางอินเตอร์เน็ต ทาง e-mail มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท
2. ความผิดสำหรับผู้ปล่อยไวรัส พอจะสรุปเป็นประเด็นสำคัญ ได้ดังนี้
2.1 ผู้ที่ทำลายข้อมูลหรือไปเปลี่ยนข้อมูลของผู้อื่นไม่ว่าด้วยวิธีการใด จะใช้ไวรัส หรือแอบเข้าไปทำลาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
2.2 การทำลายข้อมูลผู้อื่น ทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ประเภทคอมพิวเตอร์ควบคุมจราจร มีโทษสูงขึ้นเป็น จำคุก 10 ปี ปรับ 200,000 บาท ถ้ากระทบถึงความมั่นคงประเทศ จะมีโทษสูงขึ้นเป็นจำคุก 3 – 15 ปี ถ้ากระทำจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โทษจะหนักถึงจำคุก 10 – 20 ปี
3. ความผิดของผู้ที่ก่อกวนหรือแกล้งผู้อื่น พอจะสรุปเป็นประเด็นสำคัญ ได้ดังนี้
3.1 ผู้ที่ส่งเมล์ก่อกวนหรือโฆษณาขายสินค้าหรือขายบริการ ประเภทไปโผล่ pop up หรือผู้ที่ส่งเมล์ขยะโดยที่ผู้รับไม่ต้องการ มีโทษปรับอย่างเดียว ไม่เกิน 100,000 บาท โทษฐานก่อความรำคาญ
3.2 ผู้ที่ส่งเมล์เป็นข้อมูลปลอม ข้อมูลเท็จ ใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่น เป็นข่าวลือ ปล่อยข่าวให้เกิดความวุ่นวาย รวมถึงส่งภาพลามกอนาจารทั้งหลาย รวมถึงผู้ที่ได้รับแล้วส่งต่อด้วย มีโทษเท่ากันคือ จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
3.3 ผู้ที่ตัดต่อภาพของผู้อื่น แล้วนำเข้าเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต ทำให้เจ้าของภาพเสียหาย อับอาย ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 600,000 บาท
4. ความผิดของผู้ให้บริการ พอจะสรุปเป็นประเด็นสำคัญ ได้ดังนี้
ผู้ให้บริการมีหน้าที่ต้องเก็บรวมรวมข้อมูลของผู้ใช้บริการอย่างน้อย 90 วัน เพื่อให้สามารถหาตัวใช้บริการ สำหรับให้ตรวจสอบได้ มิฉะนั้นผู้ให้บริการจะต้องรับโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท การกระทำความผิดตามกฎหมายนี้ แม้จะกระทำในหรือนอกราชอาณาจักร ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือคนต่างด้าว ถ้าเกิดความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นภายในประเทศหรือต่างประเทศก็ต้องยอมรับโทษตามกฎหมายนี้ด้วย แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือ การกระทำความผิดในระบบคอมพิวเตอร์ทางอินเตอร์เน็ตนี้จะมีวิธีการจับได้อย่างไร ในทางปฏิบัติกฎหมายให้อำนาจเรียกข้อมูลจากผู้ให้บริการหรือเจ้าของเว็บทั้งหลาย รวมทั้งมีอำนาจที่จะเข้าไปติดตาม ตรวจสอบ คัดลอก ในระบบคอมพิวเตอร์ของใครก็ได้ ถ้ามีเหตุอันควรเชื่อถือได้ว่ามีการกระทำความผิด แต่การใช้อำนาจเจาะเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นตามกฎหมายฉบับนี้นั้น จะต้องขออนุญาตต่อศาลก่อน จะกระทำโดยพละการไม่ได้ หากเจ้าหน้าที่เปิดเผยข้อมูลที่ใช้อำนาจหน้าที่ไปเจาะข้อมูลมาโดยไม่มีอำนาจ เจ้าหน้าที่มีความผิดด้วย โดยต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท และถึงแม้ไม่ได้ตั้งใจจะเปิดเผย แต่กระทำไปด้วยความประมาททำให้ข้อมูลหลุดเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต ก็จะต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เป็นกฎหมายที่ดีมีประโยชน์ เพราะทำให้ประเทศไทยได้ชื่อเสียงว่ามีกฎหมายด้านการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกับอารยประเทศทั้งหลาย เป็นการช่วยป้องปรามไม่ให้เกิดการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ลดน้อยลง และช่วยให้สามารถดำเนินการตามกฎหมายได้รวดเร็วขึ้น เป็นต้น เช่นเดียวกับกฎหมายฉบับอื่นๆ ก็ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเป็นระยะๆ อาทิเช่น ควรมีข้อยกเว้นสำหรับสถานศึกษา ควรมีข้อยกเว้นให้ส่งเบาะแสการกระทำความผิดให้เจ้าหน้าที่ผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ ควรออกกฎหมายใหม่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ให้ครบถ้วนยิ่งขึ้น และควรปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่แล้วให้ครอบคลุมมากขึ้น เพื่อประโยชน์ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ตอบ เห็นด้วยกับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย (กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550) เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด เพราะเราจะพบว่า ในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้เข้ามามีบทบาทมาก และทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นตามลำดับต่อระบบเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศไทย แต่ในขณะเดียวกันการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ก็มีแนวโน้มขยายวงกว้างและทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นด้วย โดยขอสรุปประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบับนี้ในด้าน ๆ ดังนี้
1. ความผิดสำหรับแฮคเกอร์ พอจะสรุปเป็นประเด็นสำคัญได้ดังนี้
1.1 เข้าเว็บสาธารณะย่อมไม่มีความผิด แต่ผู้ที่เจาะระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่สร้างระบบป้องกันไว้ มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท แต่ถ้าเจาะเข้าไปถึงข้อมูลที่เก็บรักษาไว้ด้วย โทษจะเพิ่มเป็น 2 เท่า
1.2 ผู้ที่เผยรหัส (password) ที่ตัวเองรู้มา สำหรับเพื่อใช้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ มีโทษจำคุก 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท 1.3 ผู้ที่ดักจับข้อมูลที่เป็นส่วนตัว ซึ่งส่งถึงกันทางอินเตอร์เน็ต ทาง e-mail มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท
2. ความผิดสำหรับผู้ปล่อยไวรัส พอจะสรุปเป็นประเด็นสำคัญ ได้ดังนี้
2.1 ผู้ที่ทำลายข้อมูลหรือไปเปลี่ยนข้อมูลของผู้อื่นไม่ว่าด้วยวิธีการใด จะใช้ไวรัส หรือแอบเข้าไปทำลาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
2.2 การทำลายข้อมูลผู้อื่น ทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ประเภทคอมพิวเตอร์ควบคุมจราจร มีโทษสูงขึ้นเป็น จำคุก 10 ปี ปรับ 200,000 บาท ถ้ากระทบถึงความมั่นคงประเทศ จะมีโทษสูงขึ้นเป็นจำคุก 3 – 15 ปี ถ้ากระทำจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โทษจะหนักถึงจำคุก 10 – 20 ปี
3. ความผิดของผู้ที่ก่อกวนหรือแกล้งผู้อื่น พอจะสรุปเป็นประเด็นสำคัญ ได้ดังนี้
3.1 ผู้ที่ส่งเมล์ก่อกวนหรือโฆษณาขายสินค้าหรือขายบริการ ประเภทไปโผล่ pop up หรือผู้ที่ส่งเมล์ขยะโดยที่ผู้รับไม่ต้องการ มีโทษปรับอย่างเดียว ไม่เกิน 100,000 บาท โทษฐานก่อความรำคาญ
3.2 ผู้ที่ส่งเมล์เป็นข้อมูลปลอม ข้อมูลเท็จ ใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่น เป็นข่าวลือ ปล่อยข่าวให้เกิดความวุ่นวาย รวมถึงส่งภาพลามกอนาจารทั้งหลาย รวมถึงผู้ที่ได้รับแล้วส่งต่อด้วย มีโทษเท่ากันคือ จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
3.3 ผู้ที่ตัดต่อภาพของผู้อื่น แล้วนำเข้าเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต ทำให้เจ้าของภาพเสียหาย อับอาย ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 600,000 บาท
4. ความผิดของผู้ให้บริการ พอจะสรุปเป็นประเด็นสำคัญ ได้ดังนี้
ผู้ให้บริการมีหน้าที่ต้องเก็บรวมรวมข้อมูลของผู้ใช้บริการอย่างน้อย 90 วัน เพื่อให้สามารถหาตัวใช้บริการ สำหรับให้ตรวจสอบได้ มิฉะนั้นผู้ให้บริการจะต้องรับโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท การกระทำความผิดตามกฎหมายนี้ แม้จะกระทำในหรือนอกราชอาณาจักร ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือคนต่างด้าว ถ้าเกิดความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นภายในประเทศหรือต่างประเทศก็ต้องยอมรับโทษตามกฎหมายนี้ด้วย แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือ การกระทำความผิดในระบบคอมพิวเตอร์ทางอินเตอร์เน็ตนี้จะมีวิธีการจับได้อย่างไร ในทางปฏิบัติกฎหมายให้อำนาจเรียกข้อมูลจากผู้ให้บริการหรือเจ้าของเว็บทั้งหลาย รวมทั้งมีอำนาจที่จะเข้าไปติดตาม ตรวจสอบ คัดลอก ในระบบคอมพิวเตอร์ของใครก็ได้ ถ้ามีเหตุอันควรเชื่อถือได้ว่ามีการกระทำความผิด แต่การใช้อำนาจเจาะเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นตามกฎหมายฉบับนี้นั้น จะต้องขออนุญาตต่อศาลก่อน จะกระทำโดยพละการไม่ได้ หากเจ้าหน้าที่เปิดเผยข้อมูลที่ใช้อำนาจหน้าที่ไปเจาะข้อมูลมาโดยไม่มีอำนาจ เจ้าหน้าที่มีความผิดด้วย โดยต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท และถึงแม้ไม่ได้ตั้งใจจะเปิดเผย แต่กระทำไปด้วยความประมาททำให้ข้อมูลหลุดเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต ก็จะต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เป็นกฎหมายที่ดีมีประโยชน์ เพราะทำให้ประเทศไทยได้ชื่อเสียงว่ามีกฎหมายด้านการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกับอารยประเทศทั้งหลาย เป็นการช่วยป้องปรามไม่ให้เกิดการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ลดน้อยลง และช่วยให้สามารถดำเนินการตามกฎหมายได้รวดเร็วขึ้น เป็นต้น เช่นเดียวกับกฎหมายฉบับอื่นๆ ก็ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเป็นระยะๆ อาทิเช่น ควรมีข้อยกเว้นสำหรับสถานศึกษา ควรมีข้อยกเว้นให้ส่งเบาะแสการกระทำความผิดให้เจ้าหน้าที่ผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ ควรออกกฎหมายใหม่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ให้ครบถ้วนยิ่งขึ้น และควรปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่แล้วให้ครอบคลุมมากขึ้น เพื่อประโยชน์ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ความคิดเห็นการจัดทำแผนแม่บทด้านไอซีที
2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการจัดทำแผนแม่บทด้านไอซีที (ICT) ฉบับที่ 2 ของรัฐบาลไทย จงสังเคราะห์ความรู้จากแผนแม่บทมาเป็นอรรถาธิบายให้แจ้งชัด
ตอบ เห็นด้วยกับแผนแม่บทด้าน ICT ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2552 – 2556) ของรัฐบาลไทย เพราะจากการวิเคราะห์แผนแม่บทฉบับนี้จะพบว่ามีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาประเทศไทยให้เป็นสังคมอุดมปัญญา ด้วยการใช้ ICT โดยการพัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพและปริมาณที่เพียงพอ ทั้งบุคลากรด้าน ICT และบุคลากรในสาขาอาชีพอื่นๆการพัฒนาโครงข่ายสารสนเทศและการสื่อสารความเร็วสูงการพัฒนาระบบบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีธรรมาภิบาลโดยมีกลไก กฎระเบียบ โครงการการบริหารและการกำกับดูแล ที่เอื้อต่อการพัฒนาอย่างบูรณาการ การยกระดับความพร้อมด้าน ICT ของประเทศให้สูงขึ้นในระดับโลกการผลักดันอุตสาหกรรม ICT ให้มีสัดส่วนมูลค่าเพิ่ม ต่อ GDP ไม่น้อยกว่า 20 % และการส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนอย่างน้อย 50 % สามารถเข้าถึงและใช้ ICT ได้ โดยโครงการที่สำคัญได้แก่ การจัดตั้งวิทยาลัย ICT การพัฒนากฎหมายด้าน ICT พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ โดยมีรายละเอียด พอจะสรุป ได้ดังนี้
1. การจัดตั้งวิทยาลัย ICT วัตถุประสงค์เพื่อให้การพัฒนาบุคลากรด้าน ICT ในระดับภาพรวมของประเทศมีทิศทางที่แน่ชัด มีการบูรณาการร่วมกันหลายหน่วยงาน และให้บุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีจำนวนมากขึ้น ให้เพียงพอในการเข้าสู่ธุรกิจด้าน IT ดังนั้น จึงเห็นสมควรจัดทำโครงการพัฒนาบุคลากรด้าน ICT ของประเทศขึ้น เพื่อเป็นการศึกษารูปแบบแนวทางการพัฒนาบุคลากรด้าน ICT ในระดับประเทศ
2. การพัฒนากฎหมายด้าน ICT กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ได้ศึกษาและจัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกฎหมาย เพื่อใช้ในการกำกับควบคุมการเผยแพร่สิ่งที่ไม่เหมาะสม เป็นภัยบนอินเทอร์เน็ตมีเนื้อหาที่ครอบคลุมเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยของสังคม โดยไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีงาม และเพื่อศึกษาวิเคราะห์เทียบเคียงกฎหมายของประเทศที่พัฒนาแล้ว มีแนวทางการกำหนดมาตรการทางกฎหมาย ในการป้องกันปัญหาการเผยแพร่สิ่งที่ไม่เหมาะสม อันเป็นภัยที่เกิดจากการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อผลักดันให้มีการยกร่างกฎหมายที่มีเนื้อหาใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป ซึ่งปัจจุบันกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ
3. พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นตามบทบัญญัติในมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 โดยได้แยกการกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และการกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคมออกจากกัน คือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ยังคงบัญญัติหลักการเกี่ยวกับการจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ไว้ในมาตรา 47 แต่ได้บัญญัติให้เป็นองค์กรอิสระองค์กรหนึ่ง ทำให้ต้องมีการปรับปรุงกฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้ กรอบยุทธศาสตร์และผลลัพธ์ในแผนแม่บทด้านICTฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2552 – 2554) ของรัฐบาลไทยก็มีสิ่งต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ดังนี้
1. พัฒนากำลังคน (ICT Professionals & ICT literate people)
2. บริหารจัดการ ICT อย่างมีธรรมาภิบาล
3. ใช้ ICT เพื่อช่วยสร้างธรรมาภิบาลของรัฐ
4. พัฒนาอุตสาหกรรมของ ICT
5. ใช้ ICT ในภาคการผลิตและบริการที่เป็นยุทธศาสตร์ของประเทศ
นอกจากนี้ยังส่งเสริมการเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นนำเอาระบบนั้นไปพัฒนาได้ต่อไป (Open Source) รวมถึงการมีกลไกสนับสนุนให้บุคลากรนักพัฒนาของไทย สามารถเข้าร่วมโครงการระดับโลกได้ เพื่อสร้างให้เกิดการวิจัยพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยี และทำให้เกิดความเข้มแข็งของบุคลากร ICT ไทย ทั้งนี้เพื่อลดการละเมิดลิขสิทธิ์ ลดภาระงบประมาณรายจ่ายในการซื้อซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ เพิ่มทางเลือกของการใช้ซอฟต์แวร์ พัฒนาฝีมือ ทักษะของโปรแกรมเมอร์และผู้ใช้งาน และให้มีอิสระในการกำหนดทิศทางการพัฒนาต่อยอดซอฟต์แวร์ใหม่
ตอบ เห็นด้วยกับแผนแม่บทด้าน ICT ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2552 – 2556) ของรัฐบาลไทย เพราะจากการวิเคราะห์แผนแม่บทฉบับนี้จะพบว่ามีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาประเทศไทยให้เป็นสังคมอุดมปัญญา ด้วยการใช้ ICT โดยการพัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพและปริมาณที่เพียงพอ ทั้งบุคลากรด้าน ICT และบุคลากรในสาขาอาชีพอื่นๆการพัฒนาโครงข่ายสารสนเทศและการสื่อสารความเร็วสูงการพัฒนาระบบบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีธรรมาภิบาลโดยมีกลไก กฎระเบียบ โครงการการบริหารและการกำกับดูแล ที่เอื้อต่อการพัฒนาอย่างบูรณาการ การยกระดับความพร้อมด้าน ICT ของประเทศให้สูงขึ้นในระดับโลกการผลักดันอุตสาหกรรม ICT ให้มีสัดส่วนมูลค่าเพิ่ม ต่อ GDP ไม่น้อยกว่า 20 % และการส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนอย่างน้อย 50 % สามารถเข้าถึงและใช้ ICT ได้ โดยโครงการที่สำคัญได้แก่ การจัดตั้งวิทยาลัย ICT การพัฒนากฎหมายด้าน ICT พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ โดยมีรายละเอียด พอจะสรุป ได้ดังนี้
1. การจัดตั้งวิทยาลัย ICT วัตถุประสงค์เพื่อให้การพัฒนาบุคลากรด้าน ICT ในระดับภาพรวมของประเทศมีทิศทางที่แน่ชัด มีการบูรณาการร่วมกันหลายหน่วยงาน และให้บุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีจำนวนมากขึ้น ให้เพียงพอในการเข้าสู่ธุรกิจด้าน IT ดังนั้น จึงเห็นสมควรจัดทำโครงการพัฒนาบุคลากรด้าน ICT ของประเทศขึ้น เพื่อเป็นการศึกษารูปแบบแนวทางการพัฒนาบุคลากรด้าน ICT ในระดับประเทศ
2. การพัฒนากฎหมายด้าน ICT กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ได้ศึกษาและจัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกฎหมาย เพื่อใช้ในการกำกับควบคุมการเผยแพร่สิ่งที่ไม่เหมาะสม เป็นภัยบนอินเทอร์เน็ตมีเนื้อหาที่ครอบคลุมเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยของสังคม โดยไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีงาม และเพื่อศึกษาวิเคราะห์เทียบเคียงกฎหมายของประเทศที่พัฒนาแล้ว มีแนวทางการกำหนดมาตรการทางกฎหมาย ในการป้องกันปัญหาการเผยแพร่สิ่งที่ไม่เหมาะสม อันเป็นภัยที่เกิดจากการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อผลักดันให้มีการยกร่างกฎหมายที่มีเนื้อหาใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป ซึ่งปัจจุบันกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ
3. พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นตามบทบัญญัติในมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 โดยได้แยกการกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และการกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคมออกจากกัน คือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ยังคงบัญญัติหลักการเกี่ยวกับการจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ไว้ในมาตรา 47 แต่ได้บัญญัติให้เป็นองค์กรอิสระองค์กรหนึ่ง ทำให้ต้องมีการปรับปรุงกฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้ กรอบยุทธศาสตร์และผลลัพธ์ในแผนแม่บทด้านICTฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2552 – 2554) ของรัฐบาลไทยก็มีสิ่งต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ดังนี้
1. พัฒนากำลังคน (ICT Professionals & ICT literate people)
2. บริหารจัดการ ICT อย่างมีธรรมาภิบาล
3. ใช้ ICT เพื่อช่วยสร้างธรรมาภิบาลของรัฐ
4. พัฒนาอุตสาหกรรมของ ICT
5. ใช้ ICT ในภาคการผลิตและบริการที่เป็นยุทธศาสตร์ของประเทศ
นอกจากนี้ยังส่งเสริมการเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นนำเอาระบบนั้นไปพัฒนาได้ต่อไป (Open Source) รวมถึงการมีกลไกสนับสนุนให้บุคลากรนักพัฒนาของไทย สามารถเข้าร่วมโครงการระดับโลกได้ เพื่อสร้างให้เกิดการวิจัยพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยี และทำให้เกิดความเข้มแข็งของบุคลากร ICT ไทย ทั้งนี้เพื่อลดการละเมิดลิขสิทธิ์ ลดภาระงบประมาณรายจ่ายในการซื้อซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ เพิ่มทางเลือกของการใช้ซอฟต์แวร์ พัฒนาฝีมือ ทักษะของโปรแกรมเมอร์และผู้ใช้งาน และให้มีอิสระในการกำหนดทิศทางการพัฒนาต่อยอดซอฟต์แวร์ใหม่
การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในองค์กร
1. ท่านสามารถประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในองค์กรของท่านได้อย่างไร บอกกรอบความคิด ขั้นตอน ผลกระทบให้เห็นกระบวนการคิดของท่านทั้งระบบ
ตอบ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เป็นหน่วยงานที่สามารถประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศ โดยการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการข้อมูลด้านต่าง ๆ ในเบื้องต้น เป็นการประมวลข้อมูลที่เป็นการดำเนินงานประจำวันภายในวิทยาลัยฯ และแบ่งงานตามผังการบริหารงานออกเป็น 4 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายบริหารทรัพยากร ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ และฝ่ายพัฒนาการศึกษา ในแต่ละฝ่ายมีการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในการปฏิบัติงาน โดยมีกรอบ แนวคิด ขั้นตอนและผลกระทบ ดังนี้
1. ฝ่ายวิชาการ นำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดทำหลักสูตรการสอน การจัดทำตารางสอน การจัดทำแบบฟอร์มต่าง ๆ การวัดผลประเมินผลการเรียน การจัดทำสื่อการสอนชนิดต่างๆ การจัดทำเว็บไซด์ของครู นักศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานของฝ่ายวิชาการเป็นไปอย่างมีระบบ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และสามารถติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงานได้
2. ฝ่ายบริหารทรัพยากร สามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานสารบรรณ งานธุรการ งานบัญชี งานการเงิน งานพัสดุ งานบัญชีเงินเดือน การจ่ายโบนัส งานจัดซื้อจัดจ้าง และงานบริหารงานบุคคล ทั้งครู พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราว ทำให้ผู้บริหารรับทราบจำนวนบุคลากร วันเข้ารับราชการ วันเกษียณอายุราชการ ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ประวัติการเลื่อนขั้นเงินเดือน การลา การกระทำความผิด การถูกลงโทษทางวินัย ประวัติการพัฒนาตนเองในการร่วมประชุม อบรม สัมมนา เพื่อนำเสนอข้อมูลต่อผู้บริหารให้รับทราบในการตัดสินใจ ตลอดจนงานทะเบียนนักศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ
3. ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ สามารถนำคอมพิวเตอร์มาประมวลผลด้านการจัดสรรงบประมาณ การสั่งซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์ การจัดทำแผนงบประมาณประจำปี การจัดหาพัสดุ การควบคุมผลผลิตของแต่ละงานฟาร์ม การจัดทำศูนย์ข้อมูลสถานศึกษา การจัดทำประกันคุณภาพภายในและภายนอก ซึ่งในการทำการประมวลผลรายการต่าง ๆ ก็จะมีการจัดทำเอกสารรายงาน แต่อย่างไรก็ตามการประมวลผลข้อมูลเบื้องต้นบางรายการ อาจไม่ใช่สารสนเทศโดยตรง แต่อาจนำข้อมูลเหล่านี้นำเสนอผู้บริหาร โดยการจัดทำเป็นสารสนเทศ มีการประมวลผลให้ผู้บริหารทราบว่าในแต่ละเดือน แต่ละไตรมาส หรือแต่ละปี มีการใช้จ่ายเงินในด้านต่าง ๆ เป็นอย่างไร มากหรือน้อยกว่าปีที่ผ่านมาเท่าไร แนวโน้มการใช้จ่ายเงินในการซื้อวัสดุชนิดต่าง ๆ ของแต่ละงานเป็นอย่างไร ซึ่งอาจจะนำข้อมูลเบื้องต้นเหล่านี้เข้ามาเพื่อทำการประมวลผล และนำไปใช้งานในภายหลัง เช่น ในปีนี้มีรายรับการจำหน่ายผลผลิตของงานฟาร์มเป็นเท่าไร มากกว่า หรือน้อยกว่าปีที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละเท่าไร เป็นต้น
4. ฝ่ายพัฒนาการศึกษา สามารถนำคอมพิวเตอร์มาประมวลผลด้าน การจัดกิจกรรมนักศึกษา การเข้าร่วมพิธีการในวันสำคัญต่าง ๆ การจัดกิจกรรม องค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์พระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี การเข้าค่ายปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ และงานปกครอง งานครูที่ปรึกษางานกีฬา งานนันทนาการ งานลูกเสือเนตรนารี งานนักศึกษาวิชาทหาร และงานตามนโยบายต่าง ๆ ตลอดจนโครงการที่ฝ่ายรับผิดชอบให้ดำเนินการ
ตอบ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เป็นหน่วยงานที่สามารถประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศ โดยการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการข้อมูลด้านต่าง ๆ ในเบื้องต้น เป็นการประมวลข้อมูลที่เป็นการดำเนินงานประจำวันภายในวิทยาลัยฯ และแบ่งงานตามผังการบริหารงานออกเป็น 4 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายบริหารทรัพยากร ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ และฝ่ายพัฒนาการศึกษา ในแต่ละฝ่ายมีการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในการปฏิบัติงาน โดยมีกรอบ แนวคิด ขั้นตอนและผลกระทบ ดังนี้
1. ฝ่ายวิชาการ นำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดทำหลักสูตรการสอน การจัดทำตารางสอน การจัดทำแบบฟอร์มต่าง ๆ การวัดผลประเมินผลการเรียน การจัดทำสื่อการสอนชนิดต่างๆ การจัดทำเว็บไซด์ของครู นักศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานของฝ่ายวิชาการเป็นไปอย่างมีระบบ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และสามารถติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงานได้
2. ฝ่ายบริหารทรัพยากร สามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานสารบรรณ งานธุรการ งานบัญชี งานการเงิน งานพัสดุ งานบัญชีเงินเดือน การจ่ายโบนัส งานจัดซื้อจัดจ้าง และงานบริหารงานบุคคล ทั้งครู พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราว ทำให้ผู้บริหารรับทราบจำนวนบุคลากร วันเข้ารับราชการ วันเกษียณอายุราชการ ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ประวัติการเลื่อนขั้นเงินเดือน การลา การกระทำความผิด การถูกลงโทษทางวินัย ประวัติการพัฒนาตนเองในการร่วมประชุม อบรม สัมมนา เพื่อนำเสนอข้อมูลต่อผู้บริหารให้รับทราบในการตัดสินใจ ตลอดจนงานทะเบียนนักศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ
3. ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ สามารถนำคอมพิวเตอร์มาประมวลผลด้านการจัดสรรงบประมาณ การสั่งซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์ การจัดทำแผนงบประมาณประจำปี การจัดหาพัสดุ การควบคุมผลผลิตของแต่ละงานฟาร์ม การจัดทำศูนย์ข้อมูลสถานศึกษา การจัดทำประกันคุณภาพภายในและภายนอก ซึ่งในการทำการประมวลผลรายการต่าง ๆ ก็จะมีการจัดทำเอกสารรายงาน แต่อย่างไรก็ตามการประมวลผลข้อมูลเบื้องต้นบางรายการ อาจไม่ใช่สารสนเทศโดยตรง แต่อาจนำข้อมูลเหล่านี้นำเสนอผู้บริหาร โดยการจัดทำเป็นสารสนเทศ มีการประมวลผลให้ผู้บริหารทราบว่าในแต่ละเดือน แต่ละไตรมาส หรือแต่ละปี มีการใช้จ่ายเงินในด้านต่าง ๆ เป็นอย่างไร มากหรือน้อยกว่าปีที่ผ่านมาเท่าไร แนวโน้มการใช้จ่ายเงินในการซื้อวัสดุชนิดต่าง ๆ ของแต่ละงานเป็นอย่างไร ซึ่งอาจจะนำข้อมูลเบื้องต้นเหล่านี้เข้ามาเพื่อทำการประมวลผล และนำไปใช้งานในภายหลัง เช่น ในปีนี้มีรายรับการจำหน่ายผลผลิตของงานฟาร์มเป็นเท่าไร มากกว่า หรือน้อยกว่าปีที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละเท่าไร เป็นต้น
4. ฝ่ายพัฒนาการศึกษา สามารถนำคอมพิวเตอร์มาประมวลผลด้าน การจัดกิจกรรมนักศึกษา การเข้าร่วมพิธีการในวันสำคัญต่าง ๆ การจัดกิจกรรม องค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์พระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี การเข้าค่ายปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ และงานปกครอง งานครูที่ปรึกษางานกีฬา งานนันทนาการ งานลูกเสือเนตรนารี งานนักศึกษาวิชาทหาร และงานตามนโยบายต่าง ๆ ตลอดจนโครงการที่ฝ่ายรับผิดชอบให้ดำเนินการ
วันจันทร์ที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒
เยือนเมียนม่าร์
ออกเดินทางตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2552 ช่วงเวลา 18.00 น. โดยรถบัสปรับอากาศ 2 ชั้น ถึงอ.แม่สาย จ.เชียงราย ช่วงเช้าวันที่ 23 เมษายน 2552 แล้วรับประทานอาหารเช้าที่โรงแรม และทำหนังสือผ่านด่าน อ.แม่สาย สู่เมืองท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมาร์ วิ่งไปตามถนนลาดยางข้ามขุนเขาอันสูงชัน ผ่านหมู่บ้านในชนบทสองข้างทาง
มุ่งหน้าสู่เมืองเชียงตุง ดินแดนรัฐฉานซึ่งเคยเป็นดินแดนอาณาจักรล้านนาเมืองเชียงแสน และยังคงมีสถานที่เก่าแก่หลายจุด ทั้งวัด พระราชวัง บ้านเจ้าฟ้าปกครองเมืองเชียงตุง และสถานที่สำคัญ ๆ รวมถึงวิวอันสวยงามของสถานที่ต่าง ๆ มีทั้งศิลปะไทยเขิน และเมียนมาร์
วัดธาตุหลวง
วิวเมืองเชียงตุง
วัดพระชี้นิ้ว
สระผักตบชวา
เมื่อถึงเวลาอาหารมื้อเย็นก็ไปรับประทานอาหารสไตน์ไทยเขิน แล้วก็เข้าที่พัก ซึ่งเป็นโรงแรมระดับสามดาวมีแอร์แต่เปิดได้เป็นเวลา เพราะต้องใช้ไฟปั่นเอง นอนกลางคืนต้องเปิดเฉพาะพัดลมอย่างเดียว
ตื่นมาวันที่ 24 เมษายน 2552 รับประทานอาหารเช้าแบบง่ายๆแล้วเดินทางไปเที่ยวชม
ตื่นมาวันที่ 24 เมษายน 2552 รับประทานอาหารเช้าแบบง่ายๆแล้วเดินทางไปเที่ยวชม
ตลาดสดเมืองเชียงตุง
และเมืองลา เป็นเมืองปกครองพิเศษ มีดินแดนติดต่อกับเมืองต้าล่อประเทศจีน ใช้เงินหยวนของจีนในการซื้อขายสินค้า อดีตเคยเป็นเมืองที่เปิดบ่อนกาสิโนและมีโรงแรมที่พักมากมาย ตลอดจนสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ หลายจุด ทั้งวัด พิพิธภัณฑ์หยก พิพิธภัณฑ์ของขุนส่าราชายาเสพติด(หอฝิ่น) ฟาร์มเลี้ยงหมีไว้รีดน้ำดีจำหน่าย ด่านชายแดนสู่ประเทศจีน และเข้าที่พักโรงแรมปาไหล่ เมืองลา และเดินทางกลับประเทศไทย วันที่ 25 เมษายน 2552 เส้นทางเดิม
ถนนเข้าสู่เมืองลา
วัดพระนอน
หินหยก
วัดพระธาตุ
หลักเขตเมืองลากับเมืองต้าล่อ
วิวเมืองลา
วิวเมืองลา
ด่านเมืองต้าล่อ ประเทศจีน
ฟาร์มเลี้ยงหมีเจาะน้ำดีจำหน่าย
วันพฤหัสบดีที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)