หนังใหญ่ เป็นมหรสพของไทยมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี การแสดงหนังใหญ่เป็นการใช้ภาพแกะสลักด้วยหนังโคและหนังควาย เป็นรูปตัวในเรื่องรามเกียรติ์ นำมาเชิดทางด้านหลังและด้านหน้าจอผ้าขาวประกอบคำพากย์และเจรจา โดยมีปี่พาทย์เป็นเครื่องดนตรีบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ ลักษณะตัวหนังใหญ่ มีอยู่ ๖ ประเภท คือ ๑. หนังเฝ้าหรือหนังไหว้ เป็นหนังภาพเดี่ยว หน้าเสี้ยว นั่งพนมมือ สูงประมาณ ๑ เมตร ใช้ตอนเข้าเฝ้า ๒. หนังคเนจร เป็นหนังภาพเดี่ยว หน้าเสี้ยว ทำท่าเดิน สูงประมาณ ๑.๕๐ เมตร ใช้ตอนเดินหรือตรวจทัพ ๓. หนังง่า เป็นหนังภาพเดี่ยว หน้าเสี้ยว ทำท่าเหาะ(ยกขาข้างหนึ่งกระดกขึ้น) สูงประมาณ ๑.๕๐ เมตร ใช้ตอนเหาะ หนังประเภทนี้ยังแยกเป็นหนังโก่ง คือ ตัวในเรื่องทำท่าโก่งศรและหนังแผลงตัวในเรื่องทำท่าแผลงศร ๔. หนังเมือง เป็นหนังภาพเดี่ยวหรือหลายตัวก็ได้ โดยมีภาพปราสาทราชวัง หรืออาคารเป็นภาพประกอบอยู่ด้วย สูงประมาณ ๒ เมตร ใช้ในตอนออกว่าราชการ หนังประเภทนี้ถ้ามีตัวในเรื่องเล้าโลมกัน เรียกว่า หนังปราสาทโลม ๕. หนังจับ เป็นหนังที่มีภาพตัวในเรื่องตั้งแต่ ๒ ตัวขึ้นไป ทำท่ารบกันหรือจับกันในท่าพลิกแพลงต่าง ๆ สูงประมาณ ๒ เมตร ๖. หนังเบ็ดเตล็ด คือ หนังที่มีภาพตัวในเรื่องทำท่าทางพิเศษ เช่น ตัวไพร่พลยักษ์ หรือหนังราชรถ หนังรูปลูกศร เป็นต้น ศิลปะการเชิดหนังใหญ่ในสมัยโบราณ นิยมแสดงทั้งกลางวันและกลางคืน ถ้าแสดงกลางวัน เรียกว่า หนังกลางวัน ตัวหนังจะระบายสีสวยงาม และเชิดหนังทางด้านหน้าจอ แต่ถ้าแสดงกลางวัน เรียกว่า หนังกลางวัน ตัวหนังจะระบายสีสวยงาม และเชิดหนังทางด้านหน้าจอ แต่ถ้าแสดงในเวลากลางคืน จะต้องมีกองไต้หรือกองกะลามะพร้าวจุดไฟให้ลุกเป็นแสงสว่างอยู่ทางด้านหลังจอ เวลาเชิดหนังทางด้านหลังจอผ้าขาว ผู้ชมจะแลเห็นลวดลายตัวหนังได้ชัดเจนแต่เวลาที่นำตัวหนังไปเชิดที่หน้าจอ ผู้ชมก็จะได้เห็นลีลาการเต้นและการเชิดของผู้เชิดหนัง ปัจจุบันนี้ใช้แสงไฟฟ้าส่องทางด้านหลังจอแทนการจุดไฟด้วยไต้และกะลามะพร้าว การแสดงหนังใหญ่ในปัจจุบันนี้มีเพียงไม่กี่คณะ ที่เป็นของทางราชการ คือ กรมศิลปากร ที่เป็นของเอกชนคือ หนังใหญ่วัดขนอน จังหวัดราชบุรี และหนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์ จังหวัดสิงห์บุรี ความยาวของการแสดงตั้งแต่ครึ่งชั่วโมง ถึง ๔ ชั่วโมง
การศึกษาพัฒนาการของรูปแบบและลวดลายของโอ่งมังกร จังหวัด ราชบุรี มีจุดมุ่งหมายเพื่อทราบถึงประวัติความเป็นมาของการทำ โอ่งมังกร รวบรวมและจำแนกรูปแบบลวดลายของโอ่ง วิเคราะห์ลวดลาย ตามองค์ประกอบศิลปะ และแนวโน้มที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลง ของลวดลายโอ่ง โดยผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ การสังเกต การศึกษาเอกสารและการบันทึกภาพ หลังนำมาวิเคราะห์ ด้วยหลักการองค์ประกอบศิลป์ ผลการวิจัยพบว่า การทำ เครื่องเคลือบดินเผาของจังหวัดราชบุรีที่รู้จักกันดีว่า โอ่งมังกร เริ่มมีการทำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2477 แต่เดิมได้ผลิตเป็น อ่างเคลือบ กระปุกไหน้ำปลาเผาด้วยเตามังกร ต่อมาได้มีการพัฒนา โดยการเลียนแบบการทำโอ่งเคลือบแบบโอ่งจีน มีการเขียนลวดลายตาม แบบโอ่งของจีน จนกระทั่งมีการขยายตัวทางการค้า จึงได้มี การพัฒนารูปแบบและวิธีการทำ ให้เป็นเครื่องเคลือบสีแบบเซรามิก และเผาด้วยเตาแก๊สควบคู่ไปกับเตามังกร และยังคงมีการอนุรักษ์ และสืบทอดติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ลวดลายโอ่งมังกรสามารถจำแนกได้ 2 ลักษณะ คือ 1. แบ่งตาม กรรมวิธีการทำมี 5 ลาย ได้แก่ ลายกดประทับ ลายขูดขีด ลายเรียบ ลายพิมพ์ และลายนูน 2. แบ่งตามลักษณะของลวดลายมี 6 ลาย คือ 1. ลายรูปสัตว์ ได้แก่ ลายมังกร 2. ลายพันธุ์พฤกษา ได้แก่ ลาย ดอกไม้แบบเดี่ยว ลายดอกไม้แบบต่อเนื่อง ลายกลีบบัว 3. ลายศิลปะ จีน 4. ลายศิลปะไทย 5. ลายช่องเหลี่ยม ได้แก่ ลายช่องเหลี่ยม ใส่รูปสัตว์ ลายช่องเหลี่ยมใส่รุปพันธุ์ไม้ ลายช่องเหลี่ยมใส่ ภาพที่มีเรื่องราว และ 6. ลายเบ็ดเตล็ด ได้แก่ ลายเรขาคณิต ลาย สมัยนิยม ผลการวิเคราะห์ลวดลายตามองค์ประกอบศิลป์มีความกลมกลืน กันของเส้น สี รูปร่าง รูปทรง และขนาดของลวดลาย แนวโน้มและผลกระทบที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงลวดลายของโอ่งพบว่า มี 2 ปัจจัย คือ 1. ปัจจัยภายใน ได้แก่ มาตรฐานการผลิตโอ่งของ แต่ละโรงงานและช่างฝีมือ ความพอใจของช่างติดลาย หรือความคิด สร้างสรรค์และจินตนาการของช่างติดลาย ความพอใจของเจ้าของโรงงาน ผู้ประกอบการ บางโรงงานที่มีการออกแบบและพัฒนารูปทรงของโอ่งและ ลวดลายใหม่เพื่อให้ทันต่อกระแสความต้องการของลูกค้า และแนวโน้ม ของตลาดและเทคโนโลยีการผลิตของแต่ละโรงงาน 2. ปัจจัยภายนอก ได้แก่ การผลิต ตามตัวอย่างที่ลูกค้าต้องการ กระแสความนิยมของ ลูกค้าหรือแนวโน้มของตลาด คู่แข่งทางด้านการค้าและการผลิต วิถีชีวิตของคนในยุคปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปสู่ความทันสมัยตามแบบ คนรุ่นใหม่ และได้รับการส่งเสริมพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์จาก หน่วยงานของภาครัฐและสถาบันการศึกษา
ตุ๊กตาผ้าราชบุรี
ผู้ผลิตและสินค้า(Producer & Products)
ที่อยู่(Address)
โทรศัพท์(Telephone)
1
กลุ่มหัตถกรรมตุ๊กตาราชบุรี (อุษาตุ๊กตา)
44/1 หมู่ 4 ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี 70120www.thaitambon.com/RB/PhotharamToys.htm
032 233024, 032 347884, 08 9925 59622
กลุ่มหัตถกรรมตุ๊กตาราชบุรี
116 หมู่ 4 ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี 70120
032 231857, 0194494233
กลุ่มพรรณีตุ๊กตา
131 หมู่ 1 ตำบลบ้านฆ้อง อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี 70120
032 3563014
กลุ่มหัตถกรรมตุ๊กตา
45/17 หมู่ 2 ตำบลวังเย็น อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี 70160
032 232766, 08 1941 17945
กลุ่มสตรีบ้านสิงห์
64/1 หมู่ 5 บ้านสิงห์ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี 70120
032 356986-7, 08 1867 20126
กลุ่มตุ๊กตาไทย
84/5 หมู่ 2 ตำบลบ้านไร่ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 70000
08 6002 81457
กลุ่มศูนย์หัตถกรรมท้องถิ่น
65/2 หมู่ 9 บ้านกำแพง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี 70120
032 232533, 032 232533, 032 3560588
กลุ่มตุ๊กตาผ้าขนสัตว์
37/2 หมู่ 4 ตำบลธรรมเสน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี 70120
08 1858 8532, 08 9964 03929
กลุ่มแม่ขวัญตุ๊กตา
105 หมู่ 6 บ้านสิงห์ ถนนเพชรเกษม ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี 70120
032 356694
ผลิตภัณฑ์ ผ้าจกราชบุรีรายละเอียดผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ผ้าจกราชบุรี เป็นผ้าทอลายไทยโบราณ ที่มีความละเอียดและต้องอาศัยความประณีตมาก ผ้าซิ่นตีนตกนั้นต้องใช้มือทอเป็นลายแต่ละเส้น ซึ่งกว่าจะได้ผ้าหนึ่งผืนอาจจะกินเวลาถึง 3 เดือนทีเดียว ผ้าของทางกลุ่มจะมีรูปแบบใหม่ ๆ ออกมาตลอดเวลา (OTOP) @วัตถุดิบที่ใช้1.ไหมประดิษฐ์ (ซึ่งใช้ในการทำเส้นยืน)2.ไหม3.ฝ้ายกระบวนการผลิต ทอมือจากหูก โดยทำการย้อมสีเคมีเอง (สีไม่ตก) โดยมีวิธีการทำ 8 ขั้นตอน คือ1.ฟอก 2.กรอ 3.ค้น 4.มัด 5.ย้อม 6.แต้มสี 7.กรอ 8.ทอและขึ้นลายจก(สีธรรมชาติ)การใช้/ประโยชน์นำไปตัดเป็นเครื่องนุ่งห่ม ได้อย่างสวยงามและเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยให้คงอยู่ไปตลอดกาลสถานที่จำหน่าย กลุ่มหัตถกรรมทอผ้าพื้นบ้าน2 หมู่ 5 ต.คูบัว อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000 ติดต่อ : นางมณี สุขเกษมโทร : 032 314842 ข้อมูล ผ้าจกราชบุรีที่มา... http://www.thaitambon.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น